ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๑๐. อุเบกขาบารมี

อนุนยปฏิฆวิทฺธํสนี อิฏฺฐานิฏฺเฐสุ สตฺตสงฺขาเรสุ สมปวตฺติ อุเปกฺขาปารมี ฯ (จริยปิฏกอรรถกถา)

การทำลายอารมณ์รักและชัง อันเกิดแก่สัตว์หรือสังขารธรรม เพื่อทรงไว้ซึ่งความสม่ำเสมอนั้น เรียกว่า อุเบกขาบารมี

อุเบกขาธรรม มีโลกธรรม ๘ คือ ลาภ อลาภ ยส อยส นินฺนํ ปสนฺนํ สุขํ ทุกฺขํ เป็นศัตรู คอยทำลายการทำจิตมิให้ลำเอียงนั้น ล้มเหลวลง

ศัตรูเหล่านี้ย่อมสอดแทรกในอารมณ์ โดยมีสัตว์หรือสังขารธรรม คือ ขันธ์ ๕ รูปนาม เป็นสื่อชักนำมาให้เกิดความลำเอียงไป ถ้าเป็น อิฏฐารมณ์ ก็เป็นสื่อให้เกิดความชื่นชมยินดี หากเป็น อนิฏฐารมณ์ ก็เป็นสิ่งให้เกิดความวู่วามหมดความยั้งคิด ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจแห่งความหลง คือ โมหะ เมื่อจิตถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจแห่งโมหะแล้ว ก็ขาดสติที่จะพิจารณายับยั้งมิให้เหลิงไปตามอิฏฐารมณ์ และวู่วามไปตาม อนิฏฐารมณ์

ที่กล่าวมาเช่นนี้ ดูเหมือนว่าเหมือนกับลักษณะของขันติบารมี จะว่าเป็นอย่างเดียวกันก็ได้ หรือจะว่าเนื่องกันก็ได้กล่าวคือ ถ้าอดทนไว้ได้ ไม่หวั่นไหวเอนเอียงไปในความชอบ ความชัง ก็เป็นอุเบกขา ถ้าทนไม่ไหว และเอนเอียงไปในความชอบความชัง ก็ไม่ใช่อุเบกขา

อุเบกขาบารมีนี้ เป็นบารมีที่ไม่เกี่ยวกับทานบารมีเป็นเหตุ เพราะผู้ที่มีจิตใจเป็นอุเบกขาได้นั้น ต้องการกระทำตนให้เปรียบประดุจพื้นแผ่นดิน รองรับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีได้ทั้งนั้น โดยไม่มีอาการผิดแปลกแต่อย่างใด ปราศจากอาการ  ยินดีหรือยินร้าย เช่น ได้รับคำกล่าวสรรเสริญ ก็ไม่ตื่นเต้นยินดี เมื่อได้รับคำนินทาว่าร้าย ก็ไม่เกิดความสะดุ้งสะเทือนขึ้น อาการอย่างนี้ก็เป็นการยากที่ผู้ที่มั่งมีทรัพย์แต่อย่างเดียวจะวางเฉยต่ออารมณ์เหล่านี้ เหตุนี้ทานบารมีจึงไม่เป็นเครื่องอุปการะอุดหนุนให้เกิดอุเบกขาบารมีได้

มชฺฌตฺตาการปวตฺติลกฺขณา อุเปกฺขาปารมี ฯ (จริยปิฎกอรรถกถา)

อุเบกขาบารมีย่อมมีอาการให้สม่ำเสมอเป็นกลาง ๆ ไม่เอนเอียง เป็นลักษณะ


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...