ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

วิสุทธิ ๗

วิสุทธิมัคค คือ ทางบริสุทธิ ที่นำไปสู่ความหมดจดจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง ซึ่งจัดเป็น ๗ ระยะ หรือ ๗ ขั้น อันเรียกว่า วิสุทธิ ๗ ประการนั้นเปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัด หรือบรรได ๗ ขั้น จึงจะถึงซึ่งความบริสุทธิ วิสุทธิ ๗ ได้แก่

. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งสีล บุคคลที่สมบูรณ์ด้วย จาตุปาริสุทธิสีลนั้นชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยสีล เป็นสีลวิสุทธิ จาตุปาริสุทธิสีล ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรสีล อินทรียสังวรสีล อาชีวปาริสุทธิสีล และปัจจยนิสสิตสีล

. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งจิต คือ จิตที่บริสุทธิจากนิวรณ์ทั้งหลาย ขณะใดที่จิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ขณะนั้นเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ จึงได้ชื่อว่า เป็นจิตตวิสุทธิ

. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งทิฏฐิ ปัญญาที่รู้แจ้ง รูปนามตามความเป็นจริง ได้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ กล่าวโดย โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว (โสฬสญาณจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)

. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งการข้ามพ้นจากความสงสัย เพราะเกิดปัญญาที่รู้แจ้งปัจจัยที่ให้เกิดรูปนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร, นามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ กล่าวโดยโสฬสญาณ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๒ ที่ชื่อว่า ปัจจยปริคคหญาณแล้ว

. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้ว่าทาง หรือ มิใช่ทาง กล่าวโดยโสฬสญาณก็เห็นแจ้งญาณที่ ๓ ที่ชื่อว่า สัมมสนญาณแล้ว และถึงญาณที่ ๔ ที่ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ เพียง ตรุณะ คือ เพียงอย่างอ่อนเท่านั้น ยังไม่ถึง อุทยัพพยญาณ ที่เรียกว่า พลวะ คือ อย่างกล้า(ตรุณอุทยัพพยญาณ นี่แหละที่จะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)

. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็นว่า นี่แหละเป็นทางที่ชอบแล้ว กล่าวโดยโสฬสญาณก็เห็นแล้ว พลวอุทยัพพยญาณ (อย่างกล้า)นั้นแล้ว เป็นต้นไปถึง อนุโลมญาณ และนับโคตรภูญาณรวมด้วยโดยปริยายโดยอ้อม

. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็น พระนิพพาน คือ มัคคญาณ และนับผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ รวมด้วยโดยอนุโลม


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...