ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

การอบรมสมาธิเพื่ออภิญญา

. ผู้ที่มีอภิญญาได้นั้น ตามปกติต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานและมีวสีภาวะจนสามารถเข้าฌานสมาบัติได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน ครบถ้วนทั้ง ๙ ฌาน มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่ได้เพียง รูปฌานสมาบัติ ๕ ก็มีอภิญญาได้ แต่ว่า ฌานลาภี ที่ได้ไม่ถึงรูปฌานทั้ง ๕ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีอภิญญา

. แม้แต่ ฌานลาภีบุคคลที่ได้ฌานสมาบัติทั้ง ๙ แล้ว จะมีอภิญญาโดยทั่วหน้าก็หาไม่ จะมีอภิญญาได้ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนอบรมกันเป็นพิเศษอีกถึง ๑๔ นัยก่อน ดังต่อไปนี้

 () กสิณานุโลมโต เข้าฌานตามลำดับกสิณ ชั้นแรกเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วยปฐวีกสิณ ออกแล้วเข้าฌานนั้นด้วยอาโปกสิณ แล้วเตโช วาโย ต่อ ๆ ไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงโอทาตกสิณ ฝึกอย่างนี้ตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง จนกว่าจะเป็น วสี (ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว)

() กสิณปฏิโลมโต เข้าฌานย้อนกสิณ เริ่มต้นเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วย โอทาตกสิณ ออกแล้ว ย้อนมาเข้าด้วยโลหิตกสิณ ย้อนมาปีตกสิณ ย้อนมานีลกสิณ ย้อนมาต้นเรื่อยไปจนถึงปฐวีกสิณ ฝึกจนให้ชำนิชำนาญเป็นอย่างดียิ่ง

() กสิณานุโลมปฏิโลมโต เข้าฌานใดฌานหนึ่งตามลำดับกสิณและย้อนกสิณ คือ ทำอย่าง () หนึ่งเที่ยว แล้วทำอย่าง () หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (), (), (), (), สลับกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะเป็นวสี

() ฌานานุโลมโต เข้าตามลำดับฌาน โดยเริ่มแต่ปฐมฌาน แล้วทุติยฌาน ตติยฌาน เรื่อยไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี

() ฌานปฏิโลมโต เข้าย้อนลำดับของฌาน ตั้งต้นที่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วย้อนทวนมา อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน ทวนมาถึงต้นจนถึง ปฐมฌาน จนกว่าจะเป็นวสี

() ฌานานุโลมปฏิโลมโต เข้าตามลำดับฌาน และย้อนลำดับฌาน คือ ทำอย่าง () หนึ่งเที่ยว จบแล้วทำอย่าง () หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (), (), (), (), อย่างละเที่ยวสลับกันไป จนกว่าจะเป็นวสี

() ฌานุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับของฌาน คือ

เข้าปฐมฌาน                              โดยเพ่งปฐวีกสิณ

ข้ามทุติยฌานไปเข้า                        ตติยฌาน                  โดยเพ่งปฐวีกสิณ

ข้ามจตุตถฌานไปเข้า                      ปัญจมฌาน                โดยเพ่งปฐวีกสิณ

ข้ามอากาสานัญจายตนฌานไปเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน โดยเพ่ง วิญฺญาณํ อนนฺตํ

ข้ามอากิญจัญญายตนฌานไปเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยเพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ

ต้องฝึกอบรมอย่างนี้จนกว่าจะเป็นวสี

() กสิณุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับกสิณ คือ

เพ่งปฐวีกสิณ              เข้าปฐมฌาน

ข้ามอาโปกสิณ            เลยไปเพ่งเตโชกสิณ                    เข้าปฐมฌาน

ข้ามวาโยกสิณ             เลยไปเพ่ง นีลกสิณ                     เข้าปฐมฌาน

ข้ามปีตกสิณ              เลยไปเพ่ง โลหิตกสิณ                   เข้าปฐมฌาน

ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี

 () ฌานกสิณุกฺกนฺติกโต ข้ามทั้งกสิณและข้ามทั้งฌานด้วย คือ

เพ่ง ปฐวีกสิณ                                เข้า ปฐมฌาน

เพ่ง เตโชกสิณ                               เข้า ตติยฌาน

เพ่ง นีลกสิณ                                เข้า ปัญจมฌาน

เพ่ง วิญฺญาณํ อนฺนตํ                         เข้า วิญญาณัญจายตนฌาน

เพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ                     เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

อบรมจนเป็นวสี

(๑๐) องฺคสงฺกนฺติโต เข้ารูปฌาน ๕ โดยก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลำดับ คือ

เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปฐมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๕

เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าทุติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๔ โดยก้าวล่วงวิตก

เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าตติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๓ โดยก้าวล่วงวิจาร ได้อีก

เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าจตุตถฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงปีติ ได้อีก

เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปัญจมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงสุข ได้อีก

ฝึกจนเป็นวสี

(๑๑) อารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าฌานโดยเปลี่ยนอารมณ์กัมมัฏฐาน คือ เพ่ง ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง                    อาโปกสิณ   เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน         เข้าปฐมฌาน

แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง                    เตโชกสิณ   เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน         เข้าปฐมฌาน

แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง                    วาโยกสิณ   เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน         เข้าปฐมฌาน

แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง                    นีลกสิณ     เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน         เข้าปฐมฌาน

แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง                    ปีตกสิณ     เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน         เข้าปฐมฌาน

แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง                    โลหิตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน         เข้าปฐมฌาน

แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง                    โอทาตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน         เข้าปฐมฌาน

ฝึกจนเป็นวสี

(๑๒) องฺคารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าตามลำดับฌานและตามลำดับกสิณด้วยคือ

เพ่ง      ปฐวีกสิณ เข้า       ปฐมฌาน

เพ่ง      อาโปกสิณ          เข้า       ทุติยฌาน

เพ่ง      เตโชกสิณ เข้า       ตติยฌาน

เพ่ง      วาโยกสิณ เข้า       จตุตถฌาน

เพ่ง      นีลกสิณ  เข้า       ปัญจมฌาน

เพ่ง ปีตกสิณ เพิกปีตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า ที่ชื่อว่า อากาสบัญญัติ เพ่งอากาสบัญญัตินี้จนเป็น อากาสานัญจายตนฌาน

เพ่ง โลหิตกสิณ เพิกโลหิตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัตินี้ กลับไปสนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า วิญฺญาณํ อนนฺตํ จนเป็น วิญญาณัญจายตนฌาน

เพ่ง โอทาตกสิณ เพิกโอทาตกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติกลับไปสนใจในนัตถิภาวบัญญัติด้วยการพิจารณาว่า นตฺถิ กิญฺจิ จนเป็นอากิญจัญญายตนฌาน

เพ่ง อาโลกกสิณ เพิกอาโลกกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติ กลับไปสนใจในอากิญจัญญายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ จนเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ฝึกอบรมจนเป็นวสี

หมายเหตุ มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวตรงนี้ว่า ในการอบรมสมาธินี้ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๑ ได้กล่าวถึงองค์กสิณแต่เพียง ๘ มี ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ ครั้นถึงข้อ ๑๒ นี้กล่าวเลยไปถึง อาโลกกสิณด้วย ทั้งนี้เพราะ

. กสิณทั้ง ๑๐ นั้น อาโลกกสิณนี้สงเคราะห์เข้าใน โอทาตกสิณอยู่แล้ว และอากาสกสิณก็ไม่สามารถที่จะช่วยอุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌานได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องกล่าวถึงกสิณทั้ง ๒ คือ อากาสกสิณ และอาโลกกสิณนี้ด้วย

. ในข้อ ๑๒ นี้ แสดงรูปฌานโดยปัญจกนัย จึงมี ๕ ฌาน อรูปฌานอีก ๔ ฌาน รวมเป็น ๙ ฌานด้วยกัน กสิณเพียง ๘ จึงไม่พอ ก็ต้องยกอาโลกกสิณ มา กล่าวด้วย เพื่อให้มีจำนวนพอดีกัน แต่ถ้าจะแสดงรูปฌานโดยจตุกนัย ก็ไม่ต้องกล่าวถึงอาโลกกสิณด้วย

. แม้ว่าอากาสกสิณ ไม่สามารถที่จะอุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌาน แต่ก็เป็นกัมมัฏฐานให้เกิดรูปฌานได้ทั้ง ๕ ฌาน และใช้เพ่งเพื่อประโยชน์ในอันที่จะเนรมิตอากาศให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน หรือในน้ำ จนสามารถดำดินและอยู่ในน้ำได้

(๑๓) องฺคววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้องค์ฌานไปตามลำดับ คือ

พิจารณารู้ว่า ปฐมฌาน        มีองค์ฌาน ๕ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า ทุติยฌาน        มีองค์ฌาน ๔ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า ตติยฌาน        มีองค์ฌาน ๓ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า จตุตถฌาน       มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ สุข เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า ปัญจมฌาน      มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า อากาสานัญจายตนฌาน     มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า วิญญาณัญจายตนฌาน     มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า อากิญจัญญายตนฌาน      มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

พิจารณารู้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

ทั้งนี้จนกว่าจะเป็นวสี

(๑๔) อารมฺมณววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้อารมณ์กัมมัฏฐาน คือ

เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีปฐวีกสิณเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า ปฐวีกสิณ นี่แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน

เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ หรือ โอทาตกสิณ เป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า กสิณนั้น ๆ แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน

เมื่อเข้า ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน โดยมีกสิณใดเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณาว่า กสิณนั้น ๆ เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ๆ ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี้

เมื่ออากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากาสบัญญัติเป็นอารมณ์

เมื่อวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามี อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์

เมื่ออากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์

เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากิญจัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์

ทั้งนี้ต้องฝึกฝนอบรมจนเป็นวสี

สรุปความว่า การอบรมสมาธิเพื่อให้สามารถทำอภิญญาได้ดังที่กล่าวมาแล้วรวม ๑๔ นัยนี้ ก็ประสงค์จะให้ฌานลาภีบุคคลนั้น มีความชำนิชำนาญในกระบวนการเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ให้เข้าฌานได้แคล่วคล่องว่องไว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้จิตมีสมาธิเข้มแข็งเป็นพิเศษ เป็นเหตุให้มีอำนาจจนสามารถให้รูปาวจรปัญจมฌานอภิญญาเกิดขึ้นตามความปรารถนา การฝึกฝนอบรมสมาธิให้กล้าแข็งนี้ ฌานลาภีบุคคลจะมีวิธีอื่นใดเพิ่มขึ้นอีกก็ได้


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...