ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๒ ธัมมานุสสติ

พระธรรมในที่นี้หมายถึง มัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ และพระปริยัติธรรม รวมนับเป็น ๑ จึงเป็นธรรม ๑๐ ประการด้วยกัน คุณของธรรม ๑๐ ประการนี้ เมื่อกล่าวรวบยอด โดยย่อแล้ว ก็มี ๖ อย่าง คือ

. สวากฺขาโต เป็นธรรมที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว สมบูรณ์ทั้งอรรถและพยัญชนะ ดีพร้อมทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและในที่สุด คุณธรรมข้อนี้หมายถึง พระปริยัติธรรม

. สนฺทิฏฺฐิโก เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง คุณธรรมข้อนี้หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้ง ๙

. อกาลิโก เป็นธรรมที่พึงปฏิบัติได้และให้ผลทันทีในลำดับนั้นเลยทีเดียว โดยไม่ต้องรอเวลา หรือมีระหว่างคั่นแต่อย่างใด คุณธรรมข้อนี้หมายถึง มัคคจิต ๔

. เอหิปสฺสิโก เป็นธรรมที่ให้ผลได้อย่างแท้จริง จนสามารถที่จะทำให้พิสูจน์ได้ คุณธรรมข้อนี้หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้ง ๙

. โอปนยิโก เป็นธรรมที่ควรน้อมนำมาให้บังเกิดแก่ตน และทำให้แจ้งแก่ตน หมายความว่า ควรบำเพ็ญเพียรให้เกิดมัคคจิต ผลจิต ก็จะแจ้งซึ่งพระนิพพาน คุณธรรมข้อนี้หมายถึง โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ เหมือนกัน

. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญู เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนเอง ผู้อื่นหารู้ด้วยไม่ว่า มัคคเราเจริญ ผลเราบรรลุ นิโรธเราได้แจ้งแล้ว เป็นการรู้ด้วยการประจักษ์แจ้งอย่างที่เรียกว่า ประจักขสิทธิ



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...