ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ปฏิปทา ๔ ประการ

อีกนัยหนึ่ง ท่านจำแนกพระอริยเจ้าไว้โดยอาศัยการปฏิบัติเป็นหลักในการจำแนก เป็น ๔ ประการ คือ

. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา            ปฏิบัติด้วยความลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา            ปฏิบัติด้วยความลำบาก แต่รู้ได้เร็ว

. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา              ปฏิบัติได้สะดวก แต่รู้ได้ช้า

. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา              ปฏิบัติได้สะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ประเภทที่ ๑ ปฏิบัติด้วยความลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่น พระจักขุปาลเถระ ท่านถือเนสัชชิกธุดงค์ ไม่นอนตลอดพรรษา จนจักษุบอด ได้ความยากลำบากไม่น้อยเลย ทั้งได้บรรลุธรรมพิเศษก็ช้ากว่าพวกสหาย

ประเภทที่ ๒ ปฏิบัติด้วยความลำบากก็จริง แต่ว่ารู้ธรรมพิเศษได้เร็ว เช่นพระภิกษุผู้ถูกเสือกัด ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส จึงเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจนสำเร็จอรหัตตมัคคอรหัตตผล ในขณะที่อยู่ในปากเสือ พอสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็เข้าสู่ปรินิพพานเลย อย่างที่เรียกว่า ชีวิตสมสีสี

ประเภทที่ ๓ ปฏิบัติด้วยความสะดวกสบาย แต่กว่าจะรู้ธรรมพิเศษก็เสียเวลาช้ามาก เช่น พระจูฬปัณถก เรียนกัมมัฏฐานที่ไม่ถูกไม่เหมาะแก่จริตมาเป็นเวลาช้านาน ก็มิได้บรรลุธรรมพิเศษเลย จนภายหลังจึงกำหนดกัมมัฏฐานที่ถูกกับจริต ก็บรรลุธรรมพิเศษได้ในเวลาไม่นาน

ประเภทที่ ๔ ปฏิบัติด้วยความสะดวกสบาย ทั้งรู้ธรรมพิเศษได้โดยเร็วด้วย เช่น พระพาหิยะ ผู้ได้ฟังพระธรรมเทสนาของพระศาสดาในระหว่างทางที่พระพุทธเจ้าทรงออกบิณฑบาต ก็ได้บรรลุธรรมพิเศษ


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...