ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. ปัญญาบารมี

ธมฺมานํ สามญฺญวิเสสลกฺขณาวโพโธ ปญฺญาปารมิตา ฯ (จริยปิฎก อรรถกถา)

การรอบรู้สามัญญลักษณะ และวิเสสลักษณะของรูปธรรมนามธรรมนั้น เรียกว่า ปัญญาบารมี

สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ที่รูปธรรมนามธรรมอันเป็นสังขาร จะต้องมีต้องเป็นไปอย่างนั้นซึ่งมี ๓ ลักษณะจึงเรียกว่าไตรลักษณ์คือ

. อนิจจลักษณะ เป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้ตลอดไป เมื่อเกิดขึ้น คือ อุปปาทะ แล้วก็มี ฐีติ การตั้งอยู่ ในที่สุดก็ ภังคะ ดับไป

. ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะที่ไม่คงทน ทนอยู่ไม่ได้ มี อุปปาทะ ฐีติ แล้วก็ ภังคะ ดับไปเหมือนกัน

. อนัตตลักษณะ เป็นลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจชอบหาได้ไม่ มีอุปปาทะ มีฐีติ แล้วก็ ภังคะ ดับไปเช่นเดียวกัน

ส่วนวิเสสลักษณะนั้น เป็นลักษณะจำเพาะตัวแห่ง รูปธรรมนามธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

ปฐวี             มีลักษณะ           แข็ง                   กกฺขฬ

อาโป           มีลักษณะ           เกาะกุม                อาพนฺธน

เตโช             มีลักษณะ           ร้อน                   อุณฺห

วาโย           มีลักษณะ           เคร่งตึง                วิตฺถมฺภน

ผัสสะ          มีลักษณะ           กระทบ                ผุสน

เวทนา          มีลักษณะ           เสวยอารมณ์          เวทยิต

เหล่านี้เป็นต้น

นอกจากนี้ แม้จะเป็นการเรียนรู้วิชาทางโลกที่ไม่มีโทษ ก็ได้ชื่อว่า ได้อบรมให้เกิดปัญญาเหมือนกัน

ทาน ก็เป็นเครื่องอุปการะให้เกิดปัญญา กล่าวคือ คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน หรือ บรรพชิต ผู้ครองวัด ก็ตาม ถ้าขัดสนเงินทองของกิน ที่อยู่ มีปัจจัย ๔ ไม่เพียงพอแก่ความเป็นอยู่ตามสมควรแล้ว ย่อมขาดการศึกษาเล่าเรียน หรือว่าได้ศึกษาเล่าเรียนบ้าง แต่ก็ไม่สู้จะสมบูรณ์ เมื่อขาดการศึกษาก็ด้อยปัญญา ทั้งนี้ก็เป็นเพราะขาดทานบารมี ที่จะมาอุปถัมภ์ให้เกิดปัญญาบารมี ขาดปัญญาก็ยากที่จะบริสุทธิ ดังที่ในธรรมบท แสดงว่า

ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ ย่อมบริสุทธิได้ด้วยปัญญา ยถา สภาวปฏิเวธลกฺขณา ปญฺญาปารม(จริยปิฎกอรรถกถา)

ปัญญาบารมี ย่อมมีการรู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริง เป็นลักษณะ


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...