ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กังขาวิตรณวิสุทธิ

กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นวิสุทธิมัคค ลำดับที่ ๔ และเป็นญาณที่ ๒ แห่งโสฬสญาณ มีชื่อว่า ปัจจยปริคคหญาณ มีคาถาที่ ๒๒ แสดงว่า

๒๒. เตสํ ว นามรูปานํ ปจฺจยํ ปริคฺคญฺหิยํ ปจฺจยํ สมฺปสฺสิตฺวาน นามรูปสฺส ตตโต นามรูปสฺสิตํ กงฺขํ วิตริตฺวา ติกาลิกํ ฯ

เมื่อกำหนดจับปัจจัยแห่งนามและรูปเหล่านั้น และพิจารณาเห็นปัจจัยแห่งนามและรูปโดยกว้าง ชอบแล้ว จึงข้ามพ้นความสงสัย อันอาศัยนามและรูปที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓

มีความหมายว่า เมื่อพระโยคีได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานถึง ทิฏฐิวิสุทธิ คือถึง นามรูปปริจเฉทญาณ เห็นแจ้งในรูปธรรมนามธรรมตามความเป็นจริง แล้วตั้งอยู่ในวิสุทธินั้น โดยไม่เสื่อมถอย อันตรายต่าง ๆ มี นิวรณ์ และนิมิตร้ายทั้งหลายไม่อาจกล้ำกรายได้ เพราะอำนาจที่มีอินทรียและพละแก่กล้า คือ

สัทธา               เชื่อต่อการปฏิบัติแน่นอน

วิริยะ               พากเพียรปฏิบัติวิปัสสนายิ่งขึ้น

สติ                 ระลึกทันต่อปัจจุบันแห่งรูปนามทุกขณะ

สมาธิ               มั่นคง ไม่เผลอจากรูปนาม

ปัญญา              รู้เห็นรูปนามแจ่มชัดยิ่งขึ้น

ด้วยกำลังอันยิ่งใหญ่แห่งธรรม ๕ ประการนี้ จึงยังให้พระโยคีแจ้งในปัจจัยที่เกิดรูปนาม คือแจ้งว่า

ปัจจัยที่ให้เกิดรูปนั้นได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร

ปัจจัยที่ให้เกิดนามนั้นได้แก่ อารมณ์ วัตถุ มนสิการ

อีกนัยหนึ่งแสดงโดยละเอียดออกไปตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาทว่า ปัจจัยให้เกิดรูปนั้นได้แก่ อวิชชา ตัณหา กรรม และ อาหาร

ปัจจัยที่ให้เกิดจิตนั้นได้แก่ อวิชชา ตัณหา กรรม และนามรูป (นามรูปในที่นี้ หมายถึงเจตสิกกับกัมมชรูป เท่านั้น)

ปัจจัยที่ให้เกิดเจตสิก นั้นได้แก่ อวิชชา ตัณหา กรรม และ ผัสสะ

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก็หมดสิ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ คือ รู้ว่ารูปนามปัจจุบันนี้ มีความหมายเป็นอยู่อย่างนี้ อดีตที่ล่วงมาแล้ว กี่ภพกี่ชาติก็เป็นมาอย่างนี้ ต่อไปในอนาคตอีกกี่ภพกี่ชาติ ก็จักต้องเป็นไปอย่างนี้อีก รวมหมดความสงสัย ๑๖ ประการ คือ

 . ความสงสัยในอดีตกาล ๕ ได้แก่

. อโหสิ นุโข อหํ อตีตมทฺธานํ                               เราได้เคยเกิดหรือ

. น นุโข อโหสิ อตีตมทฺธานํ                                เราไม่เคยเกิดหรือ

. กิ นุโข อโหสิ อตีตมทฺธานํ                                เราได้เกิดเป็นชาติใด

. กถํ นุโข อโหสิ อตีตมทฺธานํ                               เราได้เกิดเป็นประการใด

. กิ หุตฺวา กิ อโหสิ อตีตมทฺธานํ                            เราได้เกิดเป็นใคร แล้วเกิดต่อเป็นใคร

. ความสงสัยในอนาคตกาล ๕ ได้แก่

. อโหสิ นุโข อหํ อนาคตมทฺธานํ                             เราจะได้เกิดหรือ

. น นุโข อโหสิ อนาคตมทฺธานํ                              เราจะไม่ได้เกิดหรือ

. กิ นุโข อโหสิ อนาคตมทฺธานํ                             เราจะได้เกิดชาติใด

. กถํ นุโข อโหสิ อนาคตมทฺธานํ                            เราจะได้เกิดด้วยประการใด

. กิ หุตฺวา กิ อโหสิ อนาคตมทฺธานํ                         เราจะเกิดเป็นใคร แล้วเกิดต่อใครเป็นใครอีก

. ความสงสัยในปัจจุบันกาล ๖ ได้แก่

. อหํ นุโข อสฺสมิ                                     เรานี้เป็นตัวเราหรือ

. โน นุโขสฺมิ                                         เรานี้ไม่ใช่ตัวเราหรือ

. กิ นุโขสฺมิ                                          เรานี้เป็นอย่างไรเล่า

. กถํ นุโขสฺมิ                                        เรานี้เป็นประการใด

. อยํ นุโข สตฺโต กุโต อาคโต                          เรานี้เป็นสัตว์หรือ

. โส กุหิ คามี ภวิสฺสติ                                เรามาจากไหน แล้วจะไปไหนอีกเล่า

ความสงสัย ๑๖ ประการนี้ เป็นการแสดงตามนัยแห่งพระสูตร ส่วนตามนัยแห่งพระอภิธรรมนั้นแสดงว่า พระโยคีผู้ที่ถึงแล้ว ซึ่งกังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ปัจจยปริคคหญาณ ย่อมพ้นจากความสงสัย ๘ ประการ คือ

. ความสงสัยในพระพุทธเจ้า คือ สงสัยในพระพุทธคุณ ๙ ประการ มีรายละเอียดแจ้งอยู่แล้วที่พุทธานุสสติ ข้างต้นนี้

. ความสงสัยในพระธรรมเจ้า คือ สงสัยในพระธรรมคุณ ๖ ประการ มีรายละเอียดแจ้งอยู่แล้วที่ ธัมมานุสสติ ข้างต้นนี้

. ความสงสัยในพระสงฆ์เจ้า คือ สงสัยในพระสังฆคุณ ๙ ประการ มีรายละเอียดแจ้งอยู่แล้วที่สังฆานุสสติ ข้างต้นนี้

. ความสงสัยในการศึกษา ในข้อปฏิบัติแห่งพระพุทธศาสนา คือ สีล สมาธิ ปัญญา

. ความสงสัยในอดีตกาลแต่ชาติปางก่อน

. ความสงสัยในอนาคตกาล ที่จะมีมาในชาติหน้า

. ความสงสัยในปัจจุบันกาลในชาตินี้

. ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาท คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย ซึ่งทำให้ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ

สรุปความแล้ว แม้จะมีความสงสัยเอนกประการก็ตาม แต่เมื่อถึงกังขาวิตรณวิสุทธิแล้ว แจ้งใน ปัจจยปริคคหญาณแล้ว ก็พ้นจากการสงสัย ๒ ประการ คือ สงสัยในพระพุทธศาสนา และสงสัยในปัจจัยแห่งรูปนาม

ปัจจยปริคคหญาณ สามารถละ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าไม่มีเหตุ ละ   วิสมเหตุกทิฏฐิ เห็นผิดโดยยึดถือเหตุที่ไม่เหมาะ ไม่สมควรและละ กังขามลทิฏฐิ มลทิน หรือความหม่นหมองอันเกิดจากความสงสัยเหล่านี้เสียได้

ผู้ที่ข้ามพ้นความสงสัย คือได้ปฏิบัติจนได้แจ้ง กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นวิสุทธิ ที่ ๔ ในวิสุทธิทั้ง ๗ ซึ่งตรงกับ ปัจจยปริคคหญาณ อันเป็นญาณ ที่ ๒ แห่งโสฬสญาณนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นจูฬโสดาบัน ดังที่ วิสุทธิมัคค ภาค ๓ หน้า ๒๒๙ บรรทัดที่ ๑๗ แสดงไว้ว่า อิมินา ปน ญาเณน สมนฺนาคโต วิปสฺสโก พุทฺธสาสเน ลทฺธสฺสาโส ลทฺธปติฏโฐ นิยตคติโก จูฬโสตาปนฺโน นาม โหติ ฯ

ผู้เจริญวิปัสสนาถึงญาณที่ ๒ นี้แล้ว ได้ความเบาใจ ได้ที่พึ่งที่อาศัยในพระพุทธศาสนา มีคติอันเที่ยง ชื่อว่า จูฬโสดาบัน


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...