ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กัมมัฏฐานมี ๒ ประการ

ภาเวตพฺพา ปุนปฺปุนํ วฑฺเฒตพฺพาติ ภาวนา

ธรรมชาติใดอันบุคคลพึงอบรมให้เจริญ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ภาวนา

กิเลเส สเมตีติ สมโถ

อันว่า เอกัคคตาเจตสิก สมาธิใด ยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ เพราะเหตุดังนั้น อันว่าเอกัคคตาเจตสิก สมาธินั้น ชื่อว่า สมถะ

ขนฺธาทิสงฺขตธมฺเม อนิจฺจาทิวิวิธากาเรน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา

อันว่า  ปัญญา รู้ด้วยประการใด ย่อมเห็นสังขตธรรม มีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น อันว่า ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา

มีคาถาสังคหะ อันเป็นคาถาที่ ๑ แห่งปริจเฉทนี้แสดงว่า

. สมถวิปสฺสนานํ ภาวนานมิโต ปรํ กมฺมฏฺฐานํ ปวกฺขามิ ทุวิธมฺปิ ยถากฺกมํ ฯ

เบื้องหน้าแต่ ปัจจยนิเทสนี้ จักแสดงกัมมัฏฐาน แม้ทั้ง ๒ อย่างแห่งภาวนา คือ สมถะ และ วิปัสสนา ต่อไปตามลำดับ

มีความหมายว่า เมื่อพระอนุรุทธาจารย์ได้แสดง ปัจจยสังคหวิภาคอันเป็นปริจเฉทที่ ๘ จบไปแล้ว ต่อไปข้างหน้านี้ จักได้แสดง ภาวนา ๒ ประการ คือ สมถกัมมัฏฐาน และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามลำดับ

สมถกัมมัฏฐาน

. เยนเยนุปเกฺลสาปิ สมนฺติ วูปสมนฺติ หิ โส โส วูปสโมปาโย สมโถติ ปวุจฺจติ ฯ

แม้อุปกิเลสทั้งหลาย ย่อมสงบระงับด้วยอุบายใด  ๆ อุบายอันเป็นเครื่องสงบระงับนั้น ๆ ท่านเรียกว่า สมถะ

มีความหมายว่า ถ้ามีอุบายหรือวิธีการใด  ๆ ที่ทำให้อุปกิเลส อันเป็นเครื่องเศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งมีแต่จะให้โทษนั้น สงบระงับลงไปได้ อุบายหรือวิธีการอย่างนั้น ๆ แหละเรียกว่า สมถะ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ว่า สมถะ คือ การทำให้จิตสงบระงับจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองเร่าร้อนทั้งหลาย จนจิตใจไม่มีอาการดิ้นรน ไม่กระสับกระส่ายตลอดเวลาที่กิเลสเหล่านั้นสงบระงับอยู่

อุบายหรือวิธีการนั้นก็ได้แก่ การเจริญกัมมัฏฐาน การเพ่งกัมมัฏฐาน คือ หน่วงเอากัมมัฏฐานมาเป็นอารมณ์สำหรับเพ่ง ซึ่งสมถกัมมัฏฐานนั้น มีจำนวนถึง ๔๐ จัดได้เป็น ๗ หมวด ดังคาถาที่ ๓ ที่ ๔ แสดงว่า

. กสิณาสุภานุสฺสติ ทสธา ทสธา ฐิตา จตสฺโส อปฺปมญฺญาโย สญฺเญกาหาร นิสฺสิตา ฯ

กสิณ อสุภะ อนุสสติ ตั้งอยู่แล้วโดยประเภทอย่างละ ๑๐ อย่างละ ๑๐, อัปปมัญญา ๔, สัญญาที่อาศัยอาหารเป็นอารมณ์ ๑

. เอกญฺจ ววตฺถานมฺปิ อรูปา จตุโร อิติ สตฺตธา สมถกมฺมฏฺ ฐา นสฺส ตาว สงฺคโห ฯ

แม้การเพ่งธาตุ ๑, อรูป ๔ นั้น (ก็นับ)ด้วย รวมสมถกัมมัฏฐานเป็น ๗ หมวด (จำนวน ๔๐) ดังกล่าวมาฉะนี้

มีความหมายว่า ในการเจริญสมถภาวนานั้น มีอารมณ์สำหรับเพ่ง ที่เรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน รวม ๗ หมวด เป็นกัมมัฏฐาน ๔๐ คือ

หมวดที่ ๑          กสิณ ๑๐                   กัมมัฏฐานว่าด้วย              ทั้งปวง

หมวดที่ ๒          อสุภะ ๑๐                  กัมมัฏฐานว่าด้วย              ไม่งาม

หมวดที่ ๓          อนุสสติ ๑๐               กัมมัฏฐานว่าด้วย              ตามระลึก

หมวดที่ ๔          อัปปมัญญา ๔           กัมมัฏฐานว่าด้วย              แผ่ไปไม่มีประมาณ

หมวดที่ ๕ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ กัมมัฏฐานว่าด้วย หมายรู้ความปฏิกูลในอาหาร

หมวดที่ ๖          จตุธาตุววัตถานะ ๑   กัมมัฏฐานว่าด้วย              กำหนดธาตุทั้ง ๔

หมวดที่ ๗          อรูป ๔                       กัมมัฏฐานว่าด้วย              อรูปกัมมัฏฐาน



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...