ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

กัลยาณมิตร

 กัลยาณมิตร ในที่นี้หมายถึง อาจาริยบุคคล ผู้เจริญกัมมัฏฐานไม่ว่าจะเป็นทาง สมถะ หรือวิปัสสนา ควรมีอาจารย์เป็นผู้แนะนำชี้ทางผิดและทางถูกให้ เพราะอาจารย์ก็นับเป็นจำนวน ๑  ใน ๓ ที่โยคีบุคคลจะละเสียมิได้ คือ

อุปนิสฺสย     อยู่ในสำนักอาจารย์ผู้สามารถ

อารกฺข         รักษาอินทรียให้สมบูรณ์

อุปนิพทฺธ   ผูกจิตไว้ในอารมณ์กัมมัฏฐาน

เหตุนี้จึงนับว่า อาจารย์เป็นบุคคลที่สำคัญยิ่ง ผู้ที่จะเข้าเป็นศิษย์ต้องพินิจพิจารณาให้จงหนัก แต่ไม่ควรวิพากย์วิจารณ์ไปในทางที่เป็นโทษ เพราะอาจารย์ทุกท่านย่อมพากเพียรเกื้อกูล ให้เป็นคุณแก่ศิษย์ด้วยความเมตตากรุณา  ในวิสุทธิมัคค แสดงองค์คุณของอาจารย์ไว้ว่า

. ปิโย เป็นผู้มีสีล เป็นที่รัก น่าเลื่อมใส เป็นที่รักใคร่ของสรรพสัตว์ เพราะความสมบูรณ์แห่งสีล

. ครุ เป็นผู้มีใจคอหนักแน่น น่าเคารพยำเกรง

. ภาวนีโย เป็นผู้ได้ฝึกฝนอบรมตนมาแล้วด้วยดีทั้งการเรียนและการปฏิบัติ มีสีลาจารวัตรอันดีงามควรแก่การยกย่องสรรเสริญ

. วตฺตา   เป็นผู้ที่สามารถแนะนำ ชี้แจงแสดงแนวทางแห่งการปฏิบัติได้ดี และถูกต้องด้วย

. วจนกฺขโม  เป็นผู้ที่มีขันติอดทนพร่ำสอนศิษย์ไม่เข้าใจก็พยายามให้เข้าใจตามแนวทางแห่งการปฏิบัติ และอดทนต่อการกล่าวล่วงเกินของศิษย์และผู้อื่น ไม่หวั่นไหวต่ออิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์นั้น ๆ

. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา สามารถแสดงวิปัสสนาภูมิให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจได้ด้วยวิธีการที่ สอนน้อย แต่ให้ทำมาก

. โน ฐฏฺฐาเน นิโยชเย บอกทางที่ถูกให้

นอกจากนี้แล้วในมหาฏีกา  ยังแสดงคุณสมบัติของผู้ที่ควรเป็นอาจารย์ไว้อีกดังนี้ คือ

. สทฺธาสมฺปนฺโน โหติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์

. สีลสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยสีล คือมีมารยาทอันดีงาม

. สุตสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยการศึกษา  สามารถแสดงแนวทางแห่งการปฏิบัติได้ดี

. จาคสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ยอมเสียสละ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

. วิริยสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ได้เคยเจริญกัมมัฏฐานมาแล้ว

. สติสมฺปนฺโน ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ ไม่เผลอ ไม่ประมาท

. สมาธิสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยสมาธิ มีจิตตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระสับ กระส่าย

. ปญฺญาสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยปัญญา


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...