ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

การเจริญกสิณกัมมัฏฐาน

จะได้กล่าวถึง การเจริญปฐวีกสิณพอเป็นตัวอย่างโดยย่อ ๆ แต่อย่างเดียว กสิณที่เหลืออื่น ๆ อีก ๙ กสิณ ก็เจริญในทำนองเดียวกัน

. เมื่อทำดวงปฐวีกสิณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นำมาตั้งเฉพาะหน้า ให้ห่างสัก ๒ ศอก พอมองเห็นได้ถนัด แล้วจงนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรง จึงจะนั่งได้ทน นั่งได้นาน แล้วลืมตาดูดวงกสิณ ให้ใจจดจ่ออยู่ที่อารมณ์ คือ ที่ดวงกสิณที่เพ่งนั้น อาการเช่นนี้เรียกว่า วิตก คือ ยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์ และจง ประคองจิต ไว้ไม่ให้แส่คิดไปอย่างอื่น ให้คงคิดและเพ่งอยู่แต่ในอารมณ์ คือ ดวงกสิณนั้นแต่อย่างเดียว อาการเช่นนี้เรียกว่า วิจาร ดวงกสิณที่เพ่งนั้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต จิตที่เพ่งบริกรรมนิมิตนี้เรียกว่า บริกรรมภาวนา บริกรรมภาวนานี้เป็นไปได้ด้วยอำนาจ บริกรรมสมาธิ

ข้อนี้เป็นการเห็นด้วยนัยน์ตา เป็นการเห็นทางจักขุทวาร

. ลืมตาเพ่งดวงกสิณให้ทั่วทั้งดวงกสิณ ให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งทุกกระเบียดนิ้ว ว่าตรงไหนเป็นอย่างไร เช่นว่ามีเศษผงนิดหนึ่งติดอยู่ตรงนี้ มีรอยบุ๋มตรงนั้น เป็นรอยขีดตรงโน้น ให้จิตแน่วแน่ในดวงกสิณนั้น ในอารมณ์นั้น ประคองไว้ไม่ให้จิตตกไปจากอารมณ์นั้น

. ลืมตาเพ่งจนเห็นว่าจำได้ทั่วทุกส่วนในดวงกสิณนั้นแล้ว ก็ให้ลองหลับตาดู จะติดตา คือ เห็นดวงกสิณเหมือนดังลืมตาเห็นนั้นหรือไม่ ถ้ายังเห็นไม่ชัดก็ให้ลืมตาดูใหม่ ทำเช่นนี้แล้วเช่นนี้อีก จนเมื่อหลับตาก็เห็นดวงกสิณนั้นชัดเจนทุกส่วนทั่วทั้งดวงกสิณ แม้จนกระทั่งเศษผง รอยบุ๋ม รอยขีดอยู่ตรงไหนบ้าง ก็เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกอย่าง นิมิตที่เห็นติดตาเช่นนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต จิตที่นึกเห็นอุคคหนิมิตนี้ยังคงเรียกว่า บริกรรมภาวนา บริกรรมภาวนานี้เป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งบริกรรมสมาธิ ตอนนี้เป็นการเห็นโดยทางมโนทวาร คือ ทางใจ

. หลับตาเพ่งเช่นนั้น หรือลืมตาโดยไม่ได้มองดวงกสิณ ก็ติดตาเห็นดวงกสิณชัดเจนอยู่อย่างนั้น นิมิตก็ไม่คลาดคลายหายไป เพ่งหนักเข้า อุคคหนิมิตนั้นจะชัดเจนจนกระทั่งใส สะอาดประดุจดวงแก้วมณี เศษผง รอยบุ๋ม รอยขีด ที่เคยเห็นก็ค่อยจางหายไป ดวงกสิณจึงใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก นิมิตที่เห็นเช่นนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต และปฏิภาคนิมิตนี้อาจขยายให้ใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงได้ตามความปรารถนาด้วย จิตที่นึกเห็นปฏิภาคนิมิตนี้เรียกว่า อุปจารภาวนา เป็นไปด้วยอำนาจแห่งอุปจารสมาธิ คือใกล้จะได้ฌานแล้วละ เป็นการเห็นทางใจ ทางมโนทวารเช่นเดียวกับข้อ ๓

ถึงขั้นนี้ก็สามารถประหาณนิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เป็นปฏิปักษ์กับสมาธินั้นได้แล้ว แต่ยังเป็นแค่กามาวจรสมาธิ มีกำลังยังไม่มาก ยังไม่แน่นอน ยังไม่แนบแน่นมั่นคงถึงอัปปนาสมาธิ

. เพ่งปฏิภาคนิมิต ด้วยอุปจารภาวนาเช่นนั้น ให้เป็นไปโดยสมบูรณ์จนอารมณ์ คือ ปฏิภาคนิมิตนั้นไม่หายไป แต่แนบแน่นในจิตประทับติดอยู่ในใจยิ่งนัก รูปาวจรปฐมฌาน ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่รูปาวจรปฐมฌานเกิดขึ้นนี้โดยอาศัยปฏิภาคนิมิต ด้วยอำนาจแห่ง อัปปนาภาวนา อันเรียกตามอำนาจแห่งสมาธิว่าเป็น อัปปนาสมาธิ

ฌานจิตนี้สามารถข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม การข่มนิวรณ์ได้ด้วยอำนาจแห่งฌานนี้แหละที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน

. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ และองค์ฌานทั้ง ๕ ที่ทำหน้าที่ข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ องค์ฌานใด ข่มนิวรณ์อะไร อย่างไรนั้น ได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่ ๑ ตอนรูปาวจรจิต ตรงนิวรณ์ของฌานและการเผานิวรณ์ (วิตก เผา ถีนมิทธนิวรณ์, วิจาร เผาวิจิกิจฉานิวรณ์, ปีติ เผาพยาปาทนิวรณ์, สุข เผาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์, เอกัคคตา เผา กามฉันทนิวรณ์)


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...