|
|
![]() |
![]()
ก. อาตาปี
ต้องมีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสที่เป็นไปติดต่อตามหลักของปธานความเพียร
๔ อย่าง คือ
เพียรละความเข้าใจผิดในนามรูปเก่าๆที่เกิดแล้ว
เพียรระวังไม่ให้ความเข้าใจผิดในนามรูปใหม่ๆที่มันยังไม่เกิดอย่าให้เกิดขึ้นได้
เพียรทำโยนิโสมนสิการคือความเข้าใจถูกในนามรูปที่มันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้ได้
และเพียรพยายามทำโยนิโสมนสิการคือความเข้าใจถูกตามความเป็นจริงของนามรูปที่มันเกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อมไป
เมื่อจะพูดกันอย่างฟังง่ายๆก็คือ
ถ่ายเทความเข้าใจผิดในนามรูปที่เรียกว่าวิปลาสธรรมเก่าๆออกไปเสีย ข. สัมปชาโน
คือต้องเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยสัมปชัญญะ
๔ คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะก้าวเท้าไปข้างหน้านั้น
จะเป็นประโยชน์แก่สติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า
สาตถกสัมปชัญญะ หนึ่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะเดินไปนั้น
จะเป็นที่สบายแก่สติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า
สัปปายสัมปชัญญะ หนึ่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าอารมณ์ที่ตนจะประสบนั้น
จะเป็นอารมณ์ที่เจริญไปด้วยสติปัญญาหรือไม่ที่เรียกว่า
โคจรสัมปชัญญะ หนึ่ง จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าในการที่จะก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยกลับมาข้างหลังเป็นต้นนั้น
ตนเองจะรู้เท่าทันกับอารมณ์นั้นหรือไม่ที่เรียกว่า
อสัมโมหสัมปชัญญะ หนึ่ง ค. สติมา
คือจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยสติที่ตั้งอยู่บนมูลฐาน
๔ อย่างมีกายานุปัสสนาเป็นต้น
อย่างชนิดที่เป็นไปติดต่อโดยไม่ขาดสาย
นั่นแหละจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ที่สมควรในการเจริญสติปัฏฐานได้ |
|