|
|
![]() |
![]() ตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร์ อธิบาย การจะปฏิบัติพระวิปัสสนากรรมฐาน
จำเป็นต้องยึดหลักพระบาลีและอรรถกถาเป็นเกณฑ์
การปฏิบัติพระวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตร์
เท่าที่มีมาในฑีฆนิกายมหาวรรคบาลี
ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๒๓๒ ข้อ๓๗๕
พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงวิธีปฏิบัติพระวิปัสสนากรรมฐานไว้ข้อหนึ่ง
ที่เรียกว่า วิธีปฏิบัติวิปัสสนาโดยเฉพาะ สำหรับสติปัฏฐาน
๔ ประการนั้น ถ้าจะจัดเป็นวิธีปฏิบัติกันแล้ว
ก็มีหลักใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ที่จัดเป็นรูปขันธ์มีทั้งหมดถึง
๑๔ บรรพ
ที่จัดเป็นวิปัสสนาล้วนๆก็มีเพียง
๓ บรรพ เท่านั้น คือ ก.
อิริยาบถบรรพ
คือ เดิน, ยืน, นั่ง, และนอน (อิริยาบถใหญ่) ข.
สัมปชัญญะบรรพ
คือ ก้าวไปข้างหน้า
ถอยกลับมาข้างหลัง, มองไปข้างหน้า, เหลียวซ้าย, แลขวา, คู้อวัยวะเข้า, เหยียดอวัยวะออก, ทาบผ้าสังฆาฏิ, อุ้มบาตร, ครองจีวร, กิน, ดื่ม, เคี้ยว, ลิ้มรส, ถ่ายอุจจาระ, ถ่ายปัสสาวะ, เดิน, ยืน, นั่ง, นอน (อันเป็นอิริยาบถย่อย), หลับ, ตื่น, พูด, และนิ่ง ค.
ธาตุมนสิการ คือ การมนสิการกายนี้
โดยความเป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔
มีธาตุดินเป็นต้น
ส่วนที่เหลืออีก ๑๑ บรรพ คือ
อานาปานบรรพะ๑ ปฏิกูลบรรพะ๑
และนวสิวถิกาบรรพะ๙
จัดเป็นสมถะปนวิปัสสนา
หมายความว่า
ทำสมถะให้เกิดฌานก่อนแล้ว
จึงยกเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาต่อภายหลัง ๒. สติปัฏฐานที่เหลืออีก
๓ ประการ คือ
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ที่สงเคราะห์ด้วยเวทนาขันธ์
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ที่สงเคราะห์ด้วยวิญญาณขันธ์
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ที่สงเคราะห์ด้วยสัญญาและสังขารขันธ์ ทั้ง ๓
ประการข้างท้ายนี้
จัดเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาล้วนๆเฉพาะการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตร์
ซึ่งเป็นเสมือนทางสายเอกนี้
มีข้อปฏิบัติที่ตรงและง่ายกว่าเขาทั้งหมด
ก็เฉพาะกายานุปัสสนาเท่านั้น
และในกายานุปัสสนานั้นก็มีเฉพาะอิริยาบถบรรพเดียวเท่านั้น
ที่ทำได้ง่ายและเป็นอารมณ์ที่หยาบกว่าข้ออื่นๆทั้งหมด
จึงใคร่ขอยกเอาข้อความจากบาลีฑีฆนิกายมหาวรรค
พร้อมทั้งอรรถกถาซึ่งเป็นพุทธาธิบาย
มาแสดงไว้ดังต่อไปนี้ ฯ |
|