1.gif (7438 bytes)
หน้าสารบัญ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า
สิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด


lo1.gif (2390 bytes)     อรรถกถาพรรณา  อิริยาปถบรรพ

(มหาวรรคอรรถกถา  ฑีฆนิกาย  ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓๕๗ ข้อ ๓๕๗) 

บาลี

       เอวํ  อสฺสาสปสฺสาสวเสน  กายานุปสฺสนํ  วิภชิตฺวา อิทานิ  อิริยาปถวเสน วิภชิตุ ํ

“ ปุนจปรนฺติ  อาทิมาหฯ

 

 

      ตตฺถ กามํ โสณสิงฺคาลาทโยปิ คจฺฉนฺตา

คจฺฉมานาติ  ชานาติ, น ปเนตํ  เอวรูปํ  ชานนํ

สนฺธาย  วุตฺตํ ฯ

 

     เอวรูปญฺหิ  ชานนํ  สตฺตูปลทฺธิ  น ปชหติ,

อตฺตสญฺญํ น อุคฺฆาเฏติ  กมฺมฏฺฐานํ  วา

สติปฏฺฐานภาวนา  วา น โหติ ฯ

 

    

      อิมสฺส ปน  ภิกขุโน  ชานนํ  สตฺตูปลทฺธึ

ปชหติ, อตฺตสญญํ อุคฺฆาเฏติ, กมฺมฏฺฐานญฺเจว

สติปฏฺฐานภาวนา จ โหติ ฯ

     อิทญฺหิ “ โก คจฺฉติ, กสฺส คมนํ, กึ การณา คจฺฉตีติ”  เอวํ สมฺปชานนํ สนฺธาย วุตตํ,

ฐานาทีสุปิ เอเสว นโย ฯ

 

 

   ตตฺถ โก คจฺฉตีติ น โกจิ สตฺโต วา ปุคฺคโล วา คจฺฉติ ฯ

 

 

 

คำแปล

     เมื่อพระพุทธองค์ทรงแจกกายานุปัสสนาไว้ด้วยอำนาจของลมหายใจเข้า-ออก อย่างนี้แล้ว เพื่อพระพุทธประสงค์ ที่จะทรงแจกอิริยาบถเสียในบัดนี้ จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ปุน จปรํ เข้าไว้ฯ

    ในพระดำรัสเหล่านั้น พวกสุนัขป่าและสุนัขบ้านเป็นต้น เมื่อมันเดิน ถึงมันจะรู้ว่ากำลังเดินก็ตาม แต่ว่าความรู้เห็นปานนี้มิใช่เป็นพระพุทธประสงค์เท่าที่ทรงตรัสไว้ฯ

    เพราะว่า ความรู้เห็นปานนี้ ละความเข้าไปยึดถือว่าเป็นสัตว์ออกยังไม่ได้ ยังถอนความเข้าใจผิดว่า เป็นตัวตนออกยังไม่ได้ จึงไม่จัดเป็นกรรมฐาน หรือยังจัดเป็นสติปัฏฐานภาวนาไม่ได้ฯ

    ส่วนความรู้ของภิกษุผู้ปฏิบัตินี้ ย่อมละความยึดถือว่าเป็นสัตว์ออกได้ จึงจัดเป็นได้ทั้งพระกรรมฐานและสติปัฏฐานภาวนาฯ

    อันที่จริงพระกรรมฐานข้อนี้ พระพุทธองค์ตรัสหมายเอาความรู้ดีอย่างนี้ว่า ใครเดิน, การเดินของใคร, เพราะเหตุใดจึงเดิน แม้ในอิริยาบถทั้ง ๓ ที่เหลือมีอิริยาบถยืน เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกันฯ

    ในความรู้ทั้ง ๓ ข้อนั้น ความรู้ข้อที่ว่า ใครเดิน แก้ว่า ไม่มีสัตว์หรือบุคคลไรๆ เดินดอกฯ

 

 

 

           

บาลี

    กสฺส คมนนฺติ น กสฺสจิ สตฺตสฺส วา ปุคฺคลสฺส วา คมนํ ฯ

   กึ การณา คจฺฉตีติ จิตฺตกิริยวาโย ธาตุวิปฺผา-เรน คจฺฉติ ฯ

 

    ตสฺมา เอส เอวํ ปชานาติ “ คจฺฉามีติ” จิตตํ

อุปฺปชฺชติ, ตํ วายํ ชเนติ, วาโย วิญฺญตฺตึ ชเนติ

จิตฺตกิริยวาโยธาตุวิปฺผาเรน สกลกายสฺส ปุรโต

อภินีหาโร คมนนฺติ วุจฺจติ ฯ ฐานาทีปิสุ เอเสว

นโย ฯ

 

    ตตฺราปิ หิ  ติฏฺฐามีติ  จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ, ตํ วายํ ชเนติ,  วาโย วิญญตฺตึ, จิตฺตกิริยวาโยธาตุวิปฺ-ผาเรน สกลกายสฺส โกฏิโต ปฏฺฐาย อุสฺสิตภาโว

ฐานนฺติ วุจฺจติ ฯ

 

 

    นิสีทามีติ จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ, ตํ วายํ ชเนติ,

วาโย วิญฺยตฺตึ ชเนติ, จิตฺตกิริยวาโยธาตุวิปฺผา- เรน เหฏฺฐิมกายสฺส สมิญฺชนํ อุปริมกายสฺส

อุสฺสิตภาโว นิสฺสชฺชาติ วุจฺจติ ฯ

 

    สยามีติ จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ ตํ วายํ ชเนติ วาโย

วิญฺญตฺตึ ชเนติ, จิตฺตกิริยวาโยธาตุวิปฺผาเรน สกลฺสรีรสฺส ติริยโต ปสารณํ สยนนฺติ วุจฺจตีติ ฯ

 

 

 

 

บาลี

    ตสฺส เอวํ ปชานโต เอวํ โหติ “สตฺโต คจฺฉติ,

สตฺโต ติฏฺฐตีติ ” วุจฺจติ, อตฺถโต ปน โกจิ สตฺโต คจฺฉนฺโต วา ฐิโต วา นตฺถิ ฯ

    ยถา ปน สกฏํ คจฺฉติ สกฎํ ติฏฺฐตีติ วุจฺจติ,

น จ กิญฺจิ สกฏํ นาม คจฺฉนฺตํ วา ฐิตํ วา อตฺถิ,

จตฺตาโร ปน โคเณ โยเชตฺวา เฉกมฺหิ สารถิมฺหิ

ปาเชนฺเต “ สกฏํ คจฺฉติ, สกฏํ ติฏฺฐตีติ โวหาร-มตฺตเมว โหติ, เอวเมว อชานนตฺเถน สกฏํ วิย กาโย, โคโณ วิย จิตฺตชวาตา, สารถิ วิย จิตฺตํ”

 

    “ คจฺฉามิ ติฏฺฐามีติ” จิตฺเต อุปฺปนฺเน วาโย-ธาตุ วิญฺญตฺตึ ชยมานา อุปฺปชฺชติ, จิตฺตกิริย-

วาโยธาตุวิปฺผาเรน คมนาทีนิ ปวตฺตนฺติ, ตโต

สตฺโต คจฺฉติ ติฏฺฐติ, อหํ คจฺฉามิ, อหํ ติฏฺฐามีติ

โวหารมตฺตํ โหติ ฯ

 

       เตนาห

นาวา มารุตเวเคน        ชิยเวเคน  เตชนํ

ยถา ยาติ ตถา กาโย,   ยาติ วาตาหโต, อยํ

ยนฺตํ  สุตฺตวเสเนว,       จิตฺตสุตฺตวเสนิทํ

ปยุตฺตํ   กายยนฺตมฺปิ,   ยาติ ฐาติ นิสีทติ

โก นาม เอตฺถ โส สตฺโต,  โย วินา เหตุ ปจฺจเย

อตฺตโน  อานุภาเวน       ติฏฺเฐ วา ยทิ วา วเชติฯ

 

 

 

 

 

 

 

คำแปล

    ความรู้ข้อที่ว่า การเดินของใคร แก้ว่า ไม่ใช่การเดินของสัตว์หรือบุคคลไรๆดอกฯ

    ความรู้ข้อที่ว่า เพราะเหตุไรจึงเดิน แก้ว่าเพราะความผลักดันของวาโยธาตุอันเกิดจากพลังงานของจิตจึงเดินฯ

    เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้ จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า จิตคิดว่าจะเดินเกิดขึ้น ก็ทำให้ลมนั้นเกิด ลมก็ทำให้เกิดวิญญัติ เพราะความผลักดันของวาโยธาตุที่เกิดจากพลังงานของจิตกายทุกส่วน จึงเดินไปข้างหน้า ท่านจึงเรียกว่า เดิน ฯ ถึงในอิริยาบถยืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกันฯ

    แม้ในอิริยาบถ ๓ ที่เหลือเหล่านั้น ก็มีความพิสดารว่า จิตคิดว่าจะยืนเกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดลมนั้น ลมก็ทำให้เกิดวิญญัติ เพราะความผลักดันของวาโยธาตุที่เกิดจากพลังงานของจิต ภาวะที่กายทุกส่วนมีความสูงขึ้น ท่านจึงสมมติเรียกว่ายืน ฯ

     จิตคิดว่าจะนั่งเกิดขึ้น ก็ย่อมทำให้ลมนั้นเกิด ลมก็ย่อมทำให้วิญญัติเกิด เพราะความผลักดันของวาโยธาตุที่เกิดจากพลังงานของจิต ก็ทำให้กายท่อนล่างคู้เข้า กายท่อนบนมีความสูงขึ้น ท่านจึงสมมติเรียกว่านั่ง ฯ

          จิตคิดว่าจะนอนเกิดขึ้น ก็ทำให้ลมนั้นเกิด ลมก็ทำให้วิญญัติเกิด เพราะความผลักดันของวาโยธาตุที่เกิดจากพลังงานของจิต สรีระทุกส่วนจึงเหยียดขวางออกไป ท่านจึงสมมติเรียกว่านอน ดังนี้แล ฯ

 

 

คำแปล

      ความรู้อย่างนี้ ย่อมเกิดมีแก่เธอผู้รู้ชัดอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ เราจะกล่าวได้หรือว่า สัตว์เดิน  สัตว์ยืน  แต่ถ้าว่าโดยสภาวะแล้ว ก็หามีสัตว์ไรๆเดินหรือยืนไม่ ฯ

      อุปมาเหมือนกับที่พูดว่าเกวียนไป, เกวียนหยุด ที่จริงแล้ว หาได้มีเกวียนไรๆไปหรือหยุดอยู่ไม่ แต่ว่าเมื่อสารถีผู้ฉลาด เทียมโคสี่ตัวขับไป จึงได้เกิดมีโวหารเพียงว่า เกวียนไป, เกวียนหยุด เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด เพราะอรรถว่าไม่รู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กายเทียบได้กับเกวียน ลมที่เกิดจากจิตเทียบได้กับโค จิตเทียบกับสารถี ฯ

    ในเมื่อจิตคิดว่าจะเดิน จะยืนเกิดขึ้นแล้ว ธาตุลมก็ทำให้วิญญัติเกิดขึ้น อิริยาบถเดิน เป็นต้น ก็เป็นไปได้ เพราะความผลักดันของวาโยธาตุที่เกิดจากพลังงานของจิต จากนั้นจึงเกิดมีโวหารเรียกว่า สัตว์เดิน  สัตว์ยืน  ฉันเดิน  ฉันยืน ดังนี้ ฯ

     

     ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า

     เรือใบจะแล่นไปได้ก็ด้วยกำลังของลม ลูกศรจะแล่นไปได้ก็ด้วยกำลังของสาย ฉันใด กายนี้ย่อมเดินไปได้ด้วยกำลังของลมฉะนั้น อนึ่งเครื่องยนต์คือกายนี้ ที่ท่านประกอบแล้วด้วยสายใยคือ จิต จึงเดิน ยืน และนั่งได้ เหมือนหุ่นยนต์ที่ชักด้วยสายใยฉะนั้น ในโลกนี้ขึ้นชื่อว่าสัตว์ไรๆก็ตาม ถ้าเว้นเหตุปัจจัยเสียแล้ว จะยืนหรือเดินได้ตามลำพังของตนเองนั้นหาได้ไม่ ฯ

 

 

บาลี

     ตสฺมา เอวํ เหตุปจฺจยวเสเนว ปวตฺตานิ

คมนาทีนิ สลฺลกฺเขนฺโต เอส “ คจฺฉนฺโต วา

คจฺฉามีติ” ปชานาติ, ฐิโต วา นิสินฺโน วา สยาโน วา สยาโนมฺหีติ ปชานาตีติ เวทิตพฺโพ ฯ

 

 

   ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ,

ตถา ตถา นํ ปชานาตีติ สพฺพสงฺคาหิกวจนเมตํฯ

 

 

    อิทํ  วุตฺตํ โหติ เยน เยน วา อากาเรนสฺส กาโย ฐิโต โหติ, เตน เตน นํ ปชานาติ ฯ คมนากาเรน ฐิตํ คจฺฉตีติ ปชานาติ ฐานนิสชฺชสยนากาเรน ฐิตํ สยาโนติ ปชานาตีติ ฯ

 

 

     อิติ อชฺฌตฺตํ วาติ เอวํ อตฺตโน วา

จตุอิริยาปถปริคฺคณฺหเนน กาเย กายานุปสฺสี

วิหรติ ฯ

    พหิทฺธวาติ ปรสฺส วา จตุอิริยาปถปริคฺครฺห-เนน ฯ

 

    อชฺฌตฺตพหิทฺธา วาติ กาเลน อตฺตโน, กาเลน ปรสฺส, จตุอิริยาปถปริคฺคณฺหเนน กาเย

กายานุปสฺสี วิหรติ ฯ

 

 

 

 

 

 

บาลี

    สมุทยธมฺมานุปสฺสี วาติ อาทีสุ ปน

อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทโยติอาทินา นเยน

ปญฺจหากาเรหิ รูปกฺขนฺธสฺส สมุทโยจ วโย จ

นีหริตพฺโพ ฯ

 

    ตญฺหิ สนฺธาย อิธ “ สมุทยธมฺมานุปสฺสี วาติอาทิ วุตฺตํ”

 

 

    “อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺสาติอาทิ วุตฺตสทิส-เมวฯ”

  

    อิธาปิ จตุอิริยาปถปริคฺคาหิกา สติ ทุกฺขสจฺจํ,

ตสฺสา สมุฏฺฐาปิกา ปุริมตณฺหา สมุทยสจฺจํ,

อุภินนํ อปฺปวตฺติ นิโรธสจฺจํ, ทุกฺขปริชานโน

สมุทยปชหโน นิโรธารมฺมโณ อริยมคฺโค

มคฺคสจฺจํ ฯ

 

     เอวํ จตุสจฺจวเสน อุสฺสกฺกิตฺวา นิพฺพุตึ

ปาปุณาตีติ อิทฺเมกสฺส จตุอิริยาปถปริคฺคา-

หกสฺส ภิกฺขุโน ยาวอรหตฺตา นิยฺยานมุขนฺติ ฯ

 

 

 

        อิริยาปถปพฺพํ  นิฏฺฐิตํ

คำแปล

     เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ปฏิบัตินี้ กำลังกำหนดรู้ถึงอิริยาบถเดินเป็นต้น ซึ่งเป็นไปได้ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยอย่างนี้เท่านั้น ท่านผู้รู้จึงควรทราบว่าเมื่อเดินก็ย่อมรู้ชัดว่าเดินหรือยืน  นั่งหรือนอน ก็ตามก็ควรทราบว่า ย่อมรู้ชัดว่ายืน นั่งหรือนอน ฯ

     พระดำรัสที่ว่า ก็หรือว่า เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการใดๆก็ให้รู้ชัดถึงกายนั้นโดยอาการนั้นๆ ดังนี้ เป็นพระดำรัสที่ตรัสรวมเอาอิริยาบถเข้าไว้ทั้งหมด ฯ

    มีคำที่ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า หรือว่า เธอตั้งกายไว้โดยอาการใดๆก็ให้รู้ชัดถึงกายนั้น โดยอาการนั้นๆหมายความว่าตั้งไว้โดยอาการ เดินก็ให้รู้ชัดว่าเดิน ตั้งไว้โดยอาการยืน อาการนั่ง อาการนอน ก็ให้รู้ชัดว่า กำลังยืน นั่ง และนอน ดังนี้ ฯ

     พระบาลีที่ว่า อิติ อชฺฌตฺตํวา หมายความว่า

เป็นผู้เฝ้าพิจารณาดูกายในกายอยู่เนืองๆด้วยการกำหนดอิริยาบถ ๔ ของตนเองอย่างนี้บ้าง ฯ

    พระดำรัสที่ว่า พหิทฺธา วา หมายความว่า เป็นผู้เฝ้าดูกายในกายเนืองๆอยู่ ด้วยการกำหนดรู้ถึงอิริยาบถสี่ของบุคคลอื่นบ้าง

    พระดำรัสที่ว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา หมายความว่า เป็นผู้เฝ้าพิจารณาดูกายในกายเนืองๆอยู่ ด้วยการกำหนดรู้ถึงอิริยาบถสี่ของตนเองโดยกาล ของบุคคลอื่นโดยกาล ฯ

 

 

 

 

 

คำแปล

    ส่วนในพระดำรัสที่ว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสีวา เป็นต้น ท่านผู้รู้ควรนำเอาธรรมะเป็นเหตุเกิดขึ้นและดับไปของรูปขันธ์ออกแสดง ด้วยอาการห้าอย่าง โดยนัยเป็นต้นว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิดขึ้นดังนี้ ฯ

    ก็เพราะพระพุทธองค์ทรงหมายเอาข้อความตามที่กล่าวนั้น จึงตรัสพระดำรัสว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา เป็นต้น เข้าไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ฯ

   พระดำรัสที่ว่า “อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส ”เป็นต้น ก็เหมือนกับคำที่ได้กล่าวไว้แล้ว (ในอานาปานบรรพ) นั่นแหละ

    ในมหาสติปัฏฐานสูตรแม้นี้ สติที่กำหนดอิริยาบถ ๔ จัดเป็นทุกขสัจจะ ตัณหาในภพก่อนที่ให้เกิดสตินั้น จัดเป็นสมุทัยสัจจะ ความดับไปของทุกข์และสมุทัยสัจจะทั้งสอง จัดเป็นนิโรธสัจจะ พระอริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัยมีนิโรธเป็นอารมณ์จัดเป็นมัคคะสัจจะฯ

    โยคีภิกษุ อุตส่าห์พยายามไป ด้วยอำนาจของสัจจะ๔ ย่อมจะบรรลุถึงพระนิพพานได้ ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ เหตุนั้น วิธีปฏิบัตินี้จึงนับว่าเป็นลู่ทางแห่งการนำออกจากวัฏฏะทุกข์ ตราบเท่าพระอรหันต์ สำหรับภิกษุผู้ที่กำหนดอิริยาบถ ๔รูปหนึ่งดังนี้แลฯ

                         จบอิริยาปถบรรพ ฯ

mail.gif (4673 bytes)
จัดทำโดย
มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
flower.gif (1468 bytes)