ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สรุปปัจจัยโดยนัยต่าง ๆ

ปัจจัยทั้งหมด เมื่อสรุปโดยนัยต่าง ๆ คือ ๑.จำนวน, .ประเภท, .ชาติ, .กาล, .สัตติ เป็นต้น ก็ได้ดังนี้

กล่าวโดยจำนวน

ปัจจัยทั้งหมดนั้นมีจำนวน ๒๔ ปัจจัย แต่ว่าบางปัจจัยก็ยังจำแนกได้อีกเป็น ๒ เป็น ๓ จนถึงเป็น ๖ ก็มี เมื่อนับจำนวนโดยพิสดารแล้ว ก็มีจำนวน ๔๗ ปัจจัย รายละเอียดที่หน้า ๕๗-๕๙ นั้นแล้ว

กล่าวโดยประเภท

. นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๗ ปัจจัย คือ

. อนันตรปัจจัย                  . สมนันตรปัจจัย                   . อนันตรูปนิสสยปัจจัย

. อาเสวนปัจจัย                  . สัมปยุตตปัจจัย                   . นัตถิปัจจัย                  . วิคตปัจจัย

. นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๔ ปัจจัย คือ

. ปัจฉาชาตปัจจัย                     . ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย   . ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย

. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

. นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๙ ปัจจัย คือ

. เหตุปัจจัย                               . สหชาตาธิปติปัจจัย                       . สหชาตกัมมปัจจัย

. นานักขณิกกัมมปัจจัย                    . วิปากปัจจัย                             . นามอาหารปัจจัย

. สหชาตินทริยปัจจัย                      . ฌานปัจจัย                              . มัคคปัจจัย

. รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๖ ปัจจัย คือ

. รูปอาหารปัจจัย                     . รูปชีวิตินทริยปัจจัย                        . อาหารัตถิปัจจัย

. อินทริยัตถิปัจจัย                    . อาหารอวิคตปัจจัย                        . อินทริยอวิคตปัจจัย

  . รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๑๑ ปัจจัย คือ

. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย                                          . วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

. วัตถุปุเรชาตปัจจัย                                                . อารัมมณปุเรชาตปัจจัย

. ปุเรชาตินทริยปัจจัย                                              . วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย                                . วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย

. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย                                        ๑๐. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

๑๑. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า รูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

. นามรูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๒ ปัจจัย คือ

. อารัมมณาธิปติปัจจัย                                    . อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า นามรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

. นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๖ ปัจจัย คือ

. สหชาตปัจจัย                                . อัญญมัญญปัจจัย . สหชาตนิสสยปัจจัย

. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย                       . สหชาตัตถิปัจจัย  . สหชาตอวิคตปัจจัย

. บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๒ ปัจจัย คือ

. อารัมมณปัจจัย                              . ปกตูปนิสสยปัจจัย

มีข้อสังเกตว่า บัญญัติ นามรูป เป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

กล่าวโดยชาติ

ในปัจจัย ๒๔ หรือโดยพิสดาร ๔๗ ปัจจัยนั้น มี ชาติ ๙ อย่าง คือ

. สหชาตชาติ               . อารัมมณชาติ             . อนันตรชาติ                     . วัตถุปุเรชาตชาติ

. ปัจฉาชาตชาติ             . อาหารชาติ                . รูปชีวิตินทริยชาติ                . ปกตูปนิสสยชาติ

. นานักขณิกกัมมชาติ

. ปัจจัยที่เป็น สหชาตชาติ มี ๑๕ ปัจจัย คือ

. เหตุปัจจัย                                   . สหชาตาธิปติปัจจัย                   . สหชาตปัจจัย   

. อัญญมัญญปัจจัย                           . สหชาตนิสสยปัจจัย                   . สหชาตกัมมปัจจัย

. วิปากปัจจัย                                 . นามอาหารปัจจัย                     . สหชาตินทริยปัจจัย

๑๐. ฌานปัจจัย                                ๑๑. มัคคปัจจัย                         ๑๒. สัมปยุตตปัจจัย

๑๓. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย                      ๑๔. สหชาตัตถิปัจจัย                    ๑๕. สหชาตอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น อารัมมณชาติ มี ๘ ปัจจัย คือ

. อารัมมณปัจจัย                                               . อารัมมณาธิปติปัจจัย

. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย                               . อารัมมณูปนิสสยปัจจัย       

. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย                                        . วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย                                     . อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น อนันตรชาติ มี ๖ ปัจจัย คือ

. อนันตรปัจจัย                        . สมนันตรปัจจัย                    . อนันตรูปนิสสยปัจจัย

. อาเสวนปัจจัย                        . นัตถิปัจจัย                        . วิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น วัตถุปุเรชาตชาติ มี ๖ ปัจจัย คือ

. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย                       . วัตถุปุเรชาตปัจจัย                  

. ปุเรชาตินทริยปัจจัย                           . วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย          

. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย                          . วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น ปัจฉาชาตชาติ มี ๔ ปัจจัย คือ

. ปัจฉาชาตปัจจัย                                . ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย                             . ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น อาหารชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ

. รูปอาหารปัจจัย                     . อาหารัตถิปัจจัย                     . อาหารอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น รูปชีวิตินทริยชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ

. รูปชีวิตินทริยปัจจัย                    . อินทริยัตถิปัจจัย                 . อินทริยอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น ปกตูปนิสสยชาติ มี ๒ ปัจจัย คือ

. สุทธปกตูนิสสยปัจจัย คือ จิต เจตสิกที่เกิดก่อน และรูป บัญญัติที่มีกำลัง มากที่อุปการะแก่ จิต เจตสิก ที่เกิดทีหลังได้

. มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เจตนากรรมที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคกรรมเจตนา) ที่อุปการะแก่วิบากนามขันธ์ได้

. ปัจจัยที่เป็น นานักขณิกกัมมชาติ มี ๑ ปัจจัย คือ

นานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เจตนากรรมที่มีกำลังน้อย อุปการะแก่กามวิบาก และเจตนากรรมที่มีกำลังมากและกำลังน้อย อุปการะแก่กัมมชรูป

กล่าวโดยกาล

. ปัจจัยที่เป็น ปัจจุบันกาล มี ๑๗ หรือ ๓๖ ปัจจัย คือ

. เหตุปัจจัย                                              . สหชาตาธิปติปัจจัย       

. สหชาตปัจจัย                                          . อัญญมัญญปัจจัย        

. นิสสยปัจจัย ๓ ปัจจัย                                   . ปุเรชาตปัจจัย ๒ ปัจจัย

. ปัจฉาชาตปัจจัย                                        . สหชาตกัมมปัจจัย        

. วิปากปัจจัย                                            ๑๐. อาหารปัจจัย ๒ ปัจจัย   

๑๑. อินทริยปัจจัย ๓ ปัจจัย                                ๑๒. ฌานปัจจัย

๑๓. มัคคปัจจัย                                           ๑๔. สัมปยุตตปัจจัย

๑๕. วิปปยุตตปัจจัย ๔ ปัจจัย                               ๑๖. อัตถิปัจจัย ๖ ปัจจัย

๑๗. อวิคตปัจจัย ๖ ปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น อดีตกาล มี ๗ ปัจจัย คือ

. อนันตรปัจจัย                       . สมนันตรปัจจัย                          . อนันตรูปนิสสยปัจจัย

. อาเสวนปัจจัย                       . นานักขณิกกัมมปัจจัย                    . นัตถิปัจจัย

. วิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น ปัจจุบัน อดีต อนาคต (ติกาลิกะ) มี ๒ ปัจจัย คือ

. อารัมมณาธิปติปัจจัย                                    . อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็น ติกาลิกะ และกาลวิมุตติ มี ๒ ปัจจัย คือ

. อารัมมณปัจจัย                                         . ปกตูปนิสสยปัจจัย

กล่าวโดยสัตติ

. ปัจจัยที่มี ชนกสัตติ อย่างเดียวมี ๘ ปัจจัย คือ

. อนันตรปัจจัย                       . สมนันตรปัจจัย                         . อนันตรูปนิสสยปัจจัย

. ปกตูปนิสสยปัจจัย                  . นานักขณิกกัมมปัจจัย                   . อาเสวนปัจจัย

. นัตถิปัจจัย                         . วิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่มี อุปถัมภกสัตติ อย่างเดียว มี ๔ ปัจจัย คือ

. ปัจฉาชาตปัจจัย                     . ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย                      . ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย

. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่มี ทั้ง ๒ อย่าง คือมีชนกสัตติด้วย และอุปถัมภกสัตติด้วยนั้น มี ๓๕ ปัจจัย คือ ปัจจัยที่เหลือจากข้อ ก. และข้อ ข. ทั้งหมด

กล่าวโดยจำนวนวาระ

. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระเพียง บทเดียว คืออพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ นั้นมี ๘ ปัจจัย ได้แก่

. วิปากปัจจัย                              . รูปอาหารปัจจัย                          . ปุเรชาตินทริยปัจจัย

. รูปชีวิตินทริยปัจจัย                       . อาหารัตถิปัจจัย                          . อาหารอวิคตปัจจัย

. อินทริยัตถิปัจจัย                         . อินทริยอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๒ บท คือกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่ง และ อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่งนั้น มีปัจจัยเดียวได้แก่ นานักขณิกกัมมปัจจัย

. ปัจจัยที่มี ๓ บท นั้น มี ๑๘ ปัจจัย

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ และอพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ อย่างนี้ มี ๓ ปัจจัย ได้แก่

. อัญญมัญญปัจจัย                   . อาเสวนปัจจัย                      . สัมปยุตตปัจจัย

() กุสลเป็นปัจจัยแก่พยากตะ ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ อย่างนี้ มี ๕ ปัจจัย ได้แก่

. ปัจฉาชาตปัจจัย                  . สหชาตวิปปยุตตปัจจัย         . ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย               . ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ อย่างนี้ มี ๑๐ ปัจจัย ได้แก่

. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย                                 . วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

. วัตถุปุเรชาตปัจจัย                                      . อารัมมณปุเรชาตปัจจัย

. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย                              . วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย                               . อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย                                   ๑๐. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๗ บท มี ๑๔ ปัจจัย

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑,แก่อพยากตะ ๑,แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย ๑ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ อย่างนี้ มี ๗ ปัจจัย ได้แก่

. เหตุปัจจัย                       . สหชาตาธิปติปัจจัย                   . สหชาตกัมมปัจจัย

. นามอาหารปัจจัย                . สหชาตินทริยปัจจัย                   . ฌานปัจจัย             . มัคคปัจจัย

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑ อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ แก่อพยากตะ ๑

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่ อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑,แก่อกุสล ๑ อย่างนี้ มี ๕ ปัจจัย ได้แก่

. อนันตรปัจจัย                       . สมนันตรปัจจัย            . อนันตรูปนิสสยปัจจัย

. นัตถิปัจจัย                         . วิคตปัจจัย

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสล ๑ อกุสลเป็น ปัจจัยแก่อกุสล ๑

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑ อย่างนี้ มี ๒ ปัจจัยได้แก่

. อารัมมณาธิปติปัจจัย                          . อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๙ บท มี ๖ ปัจจัย คือ

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, อกุสลเป็น ปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่กุสล , แก่อพยากตะ ๑, อพยากตะเป็นปัจจัยแก่ อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑, อย่างนี้ มี ๒ ปัจจัย ได้แก่

. อารัมมณปัจจัย                               . ปกตูปนิสสยปัจจัย

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑, อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, กุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, อกุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, อย่างนี้ มี ๔ ปัจจัย ได้แก่

. สหชาตปัจจัย                                  . สหชาตนิสสยปัจจัย      

. สหชาตัตถิปัจจัย                               . สหชาตอวิคตปัจจัย

กล่าวโดยภูมิ

. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน ปัญจโวการภูมินั้นเป็นได้หมดทั้ง ๒๔ ปัจจัย หรือ ๔๗ ปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน จตุโวการภูมิ นั้นเป็นได้เพียง ๒๑ ปัจจัย หรือ ๒๕ ปัจจัย คือ

. เหตุปัจจัย                          . อารัมมณปัจจัย                          . อธิปติปัจจัย ๒ ปัจจัย

. อนันตรปัจจัย                       . สมนันตรปัจจัย                          . สหชาตปัจจัย

. อัญญมัญญปัจจัย                   . สหชาตนิสสยปัจจัย                      . อุปนิสสยปัจจัย ๓ ปัจจัย

๑๐. อาเสวนปัจจัย                     ๑๑. กัมมปัจจัย ๒ ปัจจัย                    ๑๒. วิปากปัจจัย

๑๓. นามอาหารปัจจัย                  ๑๔. สหชาตินทริยปัจจัย                     ๑๕. ฌานปัจจัย

๑๖. มัคคปัจจัย                        ๑๗. สัมปยุตตปัจจัย                        ๑๘. สหชาตัตถิปัจจัย

๑๙. นัตถิปัจจัย                        ๒๐. วิคตปัจจัย                             ๒๑. สหชาตอวิคตปัจจัย

. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน เอกโวการภูมิ นั้น เป็นได้เพียง ๗ ปัจจัย คือ

. สหชาตปัจจัย                               . อัญญมัญญปัจจัย                     . สหชาตนิสสยปัจจัย

. นานักขณิกกัมมปัจจัย                       . รูปชีวิตินทริยปัจจัย                    . อินทริยัตถิปัจจัย

. อินทริยอวิคตปัจจัย

กล่าวโดยภายในภายนอก

ปัจจัยที่เกิดได้เฉพาะภายนอก คือใน สิ่งที่ไม่มีชีวิต นั้น มี ๕ ปัจจัยเท่านั้น คือ

. สหชาตปัจจัย    . อัญญมัญญปัจจัย         . สหชาตนิสสยปัจจัย

. สหชาตัตถิปัจจัย . สหชาตอวิคตปัจจัย

ส่วนในภายใน คือใน สิ่งที่มีชีวิต ปัจจัยทั้งหมดสามารถจะเกิดได้ ไม่มียกเว้น

กล่าวโดยสัพพัฏฐานิกปัจจัย

สัพพัฏฐานิกปัจจัย คือ ปัจจัยที่เป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรม อันได้แก่ รูปนามทั้งหมด หมายความว่าในสังขารโลก บรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลาย ต้องเข้าอยู่ในสัพพัฏฐานิกปัจจัยทั้งนั้น ที่จะพ้นจากสัพพัฏฐานิกปัจจัยไปนั้นไม่มีเลย สัพพัฏฐานิกปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย ๔ ปัจจัย คือ

. สหชาตปัจจัย                    . นิสสยปัจจัย                  . อัตถิปัจจัย                . อวิคตปัจจัย

ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก ๒๐ ปัจจัย ชื่อว่า อสัพพัฏฐานิกปัจจัย มีความหมาย ว่าเป็นปัจจัยที่เป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรมไม่ทั่วทั้งหมด เป็นปัจจัยได้เฉพาะ แต่สังขตธรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเท่านั้น

กล่าวโดยความเป็นคู่

ปัจจัยทั้ง ๒๔ เมื่อกล่าวโดยความเป็นคู่แล้ว ก็ได้ ๕ ประเภท คือ

. อตฺถยุค เป็นคู่กันโดยมีเนื้อความเหมือนกัน ได้แก่ อนันตรปัจจัย กับ สมนันตรปัจจัย

. สทฺทยุค เป็นคู่กันโดยมีสำเนียงเหมือนกัน ได้แก่ นิสสยปัจจัย กับ อุปนิสสยปัจจัย

. กาลปฏิปกฺขยุค เป็นคู่กันโดยกาลที่ตรงกันข้าม ได้แก่ ปุเรชาตปัจจัย กับ ปัจฉาชาตปัจจัย

. อญฺโญญฺญปฏิปกฺขยุค เป็นคู่กันโดยลักษณะอาการที่แตกต่างกัน มีอยู่ ๓ คู่ คือ สัมปยุตตปัจจัยกับวิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยกับนัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย กับอวิคตปัจจัย

. เหตุปฺปผลยุค เป็นคู่กันโดยความเป็นเหตุเป็นผล ได้แก่ นานักขณิกกัมม ปัจจัย กับ วิปากปัจจัย

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...