ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๒๓. วิคตปัจจัย

วิคต แปลว่า ปราศจากไป หมายถึงดับไปแล้วนั่นเอง ปัจจัยธรรมอันได้แก่ จิตเจตสิกนั้นปราศจากไปแล้ว ดับไปแล้ว ไม่มีแล้ว ปัจจยุบบันนธรรมจึงจะเกิดขึ้น ได้ หรือจะกล่าวถึงผลก่อน ก็ว่า ปัจจยุบบันนธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อปัจจัยธรรม นั้นปราศจากไปแล้ว ถ้าหากว่าปัจจัยธรรมยังไม่ปราศจากไป และปัจจยุบบันนธรรม ก็เกิดขึ้น ดังนี้ไม่ชื่อว่า วิคต และเป็นวิคตปัจจัยไม่ได้

อุปมาเหมือน ความสว่างกับความมืด ถ้าแสงสว่างยังมีอยู่ ยังปรากฏอยู่ ความมืดก็จะมีอยู่ไม่ได้ ต่อเมื่อใดแสงสว่างปราศจากไปแล้วไม่มีแล้ว เมื่อนั้นจึง ปรากฏเกิดความมืดขึ้นมาได้ หรือว่าพระอาทิตย์ปราศจากไปแล้ว พระจันทร์จึง ปรากฏได้

วิคตปัจจัยนี้ เหมือนกับนัตถิปัจจัยทุกประการ และด้วยเหตุที่นัตถิปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย ดังนั้น วิคตปัจจัยจึงเหมือนอนันตรปัจจัยนั่นเอง

. อนันตร หมายถึงว่า ไม่มีระหว่างคั่น

. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิด โดยไม่มีระหว่างคั่น

. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน จึง จะช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้

. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต ของพระอรหันต์)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

. ความหมายโดยย่อ วิคตปัจจัยนี้เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก ถ้าได้นึกถึง วิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี ปัจจัยนี้มี ๗ วาระ คือ

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนะ ๑๗ ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นวิคตปัจจัย กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง (เว้นชวนะดวงแรก) อันได้แก่ กุสลชวนะ ๒๑ เป็นวิคตปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘               เป็นวิคตปัจจัย             มหากุสล ๘                เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔               เป็นวิคตปัจจัย             มัคคจิต ๔                 เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔               เป็นวิคตปัจจัย             มหัคคตกุสล ๙             เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙            เป็นวิคตปัจจัย             มหัคคตกุสล ๙             เป็นวิคตปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็นวิคตปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ผลจิต ๔ เป็นวิคตปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นวิคตปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑ ภวังคจิต ๑๙  เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหัคตกุสล ๙                   เป็นวิคตปัจจัย              ติเหตุกภวังคจิต ๑๓                 เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔                      เป็นวิคตปัจจัย              ผลจิต ๔                           เป็นวิคตปัจจยุบบันน

อนุโลมญาณ ๓                 เป็นวิคตปัจจัย              ผลสมาบัติ ๓                       เป็นวิคตปัจจยุบบันน

เนวสัญญาฯกุสล ๑              เป็นวิคตปัจจัย              อนาคามิผล ๑                      เป็นวิคตปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน (เว้นดวงสุด ท้าย) เป็นวิคตปัจจัย อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง (เว้นดวงแรก) เป็นวิคตปัจจ ยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย เป็นวิคต ปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ภวังคจิต ๑๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ อรหันต์) กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดก่อน ๆ เป็นวิคตปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังนั้น เป็นวิคตปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นวิคตปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นวิคตปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้  รวม ๗ ปัจจัย คือ

. อนันตรปัจจัย                 . สมนันตรปัจจัย                         . อนันตรรูปนิสสยปัจจัย

. อาเสวนปัจจัย                 . นานักขณิกกัมมปัจจัย                   . นัตถิปัจจัย

. วิคตปัจจัย

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...