ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๑๘. มัคคปัจจัย

มัคค คือ ธรรมที่เป็นประดุจหนทางที่นำไปสู่ ทุคคติ สุคติ และนิพพาน จัดเป็น สัมปาปกเหตุ คือเหตุที่ทำให้ถึง เปรียบเหมือนยวดยานพาหนะที่สามารถ พาผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายนั้น ๆ  ได้ ตามควรแก่ฐานะของยวดยานนั้น ๆ

ธรรมที่อุปมาดังหนทางที่นำไปสู่หรือเป็นเหตุให้ถึง ทุคคติ สุคติ และนิพพาน ที่เรียกว่ามัคคนี้ มี ๑๒ ประการ แต่ว่ามีองค์ธรรมเพียง ๙ จึงเรียกว่า องค์มัคค ๙ ได้แก่ เจตสิก ๙ ดวง คือ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา และทิฏฐิ มัคค ๑๒ มีองค์มัคค ๙ นี้ได้กล่าวโดยละเอียดพอ ประมาณ ในปริจเฉทที่ ๗ ตอนมิสสกสังคหะ เพื่อเป็นการทบทวน ขอให้กลับไปดู ที่นั่นอีกด้วย

องค์มัคค ๙ นี่แหละเป็นปัจจัย จึงเรียกมัคคปัจจัย มีอำนาจช่วยอุปการะ สหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนนั้น ๒ ประการ คือ

. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ให้ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยว เนื่องกับตน ให้ทำกิจไปตามหน้าที่ของตน ๆ อย่างนี้เรียกว่า กิจธรรมดา

. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนให้ไปสู่ ทุคคติ สุคติ และ นิพพานได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็น กิจพิเศษ เพราะเป็นกิจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิ เท่านั้น

อนึ่ง องค์มัคค ๙ นี้ ต่างก็ทำหน้าที่เป็นปัจจัยและปัจจยุบบันน ซึ่งกันและกัน เอง ก็ได้เหมือนกัน

สรุปความว่า มัคคปัจจัยนี้ คือองค์มัคค ๙ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จิตและ เจตสิกที่เกิดพร้อมกับตน พร้อมด้วยจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป ให้เกิดขึ้นและ ให้ตั้งอยู่ได้ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัยที่ทำหน้าที่ในกิจพิเศษอย่างหนึ่ง และทำหน้าที่ ในกิจธรรมดาอย่างหนึ่ง

. มัคค หมายถึง องค์มัคค ๙

. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

. กาล เป็นปัจจุบันกาล

. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ องค์มัคค ๙ ที่ในสเหตุกจิต ๗๑

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๕๒ สเหตุกจิตตช รูป และสเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘, อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) อเหตุกจิตตชรูป อเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป อสัญญสัตตกัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป

. ความหมายโดยย่อ มัคคปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็นมัคค ปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นมัคคปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็น มัคคปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็นมัคคปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย เป็นมัคคปัจจยุบ บันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ คือ วิตก วิริยะ เอกัคคตา และทิฏฐิ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นมัคคปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นมัคคปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นมัคคปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคค ๙ ที่เป็นอพยากตะใน สเหตุกวิบากจิต ๒๑, สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาลเป็น มัคคปัจจัย สเหตุกวิบากจิต ๒๑ สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ สเหตุกวิบากจิตตชรูป สเหตุกกิริยาจิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน

. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๓ ปัจจัย คือ

. มัคคปัจจัย                       . เหตุปัจจัย                                . สหชาตาธิปติปัจจัย

. สหชาตปัจจัย                     . อัญญมัญญปัจจัย                         . สหชาตนิสสยปัจจัย

. วิปากปัจจัย                      . สหชาตินทริยปัจจัย                        . ฌานปัจจัย

๑๐. สัมปยุตตปัจจัย                  ๑๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย                    ๑๒. สหชาตัตถิปัจจัย

๑๓. สหชาตอวิคตปัจจัย

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...