ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๑๕. อาหารปัจจัย

อาหารปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ

. อาหารประเภท ข้าว น้ำ นม ขนม เนย เป็นต้น ที่เรียกว่า กพฬีการาหาร คือ รูปอาหารนั้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะรูปกายให้เจริญเติบโตและตั้งอยู่ได้นั้น มีชื่อว่า รูปอาหารปัจจัย

. ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร คือ นามอาหาร ๓ นั้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้ เวทนาเจตสิก ปฏิสนธิวิญญาณ และเจตสิกกับกัมมชรูป (ตามลำดับ) ให้เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้นั้น มีชื่อว่า นามอาหารปัจจัย

รูปอาหารปัจจัย

. รูปอาหาร หมายความว่า  อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร

. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

. ชาติ เป็นอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อาหารนั่นเอง

. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา อุตุชโอชา อาหารชโอชา ที่อยู่ภายใน(อัชฌัตตสันตานะ) และอุตุชโอชาที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ) คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่อาหารสมุฏฐานิกรูป คือรูปที่เกิดจากอาหาร

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ ปัจจัยธรรม และที่ตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปอันเดียวกัน)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป, พาหิรรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ และพาหิรรูป

. ความหมายโดยย่อ รูปอาหารปัจจัย มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ

กพฬีการาหาร บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ หรืออีกนัยหนึ่ง ได้แก่ โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกเป็นรูปอาหารปัจจัย จตุสมุฏ ฐานิกรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับปัจจัย ธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ เป็นรูปอาหารปัจจยุบบันน

ขยายความว่า โอชาที่เป็นปัจจัยธรรมนั้น เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูป คือ อาหารชโอชานั้น เป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่ ติชรูป ที่เหลือนอกนั้น คือ กัมมชโอชา จิตตชโอชา และอุตุชโอชาแล้ว เป็นไปโดยอำนาจ อุปถัมภกสัตติ

. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

. รูปอาหารปัจจัย                   . อาหารัตถิปัจจัย                  . อาหารอวิคตปัจจัย

นามอาหารปัจจัย

. นามอาหาร หมายความถึง ผัสสาหาร คือ ผัสสเจตสิก, มโนสัญเจตนา หาร คือ เจตนาเจตสิก และ วิญญาณาหาร คือ จิตทั้งหมด

. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรมนั้น เกิดพร้อมกัน

. กาล เป็นปัจจุบัน

. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามอาหาร องค์ธรรม ๓ คือ ผัสสะ เจตนา และวิญญาณ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับปัจจัยธรรม

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตต กัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

. ความหมายโดยย่อ นามอาหารปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามอาหาร ๓ ในกุสลจิต ๒๑ ใน ปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลนามอาหาร ๓ ใน กุสลจิต ๒๑ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสล จิตตชรูปด้วย เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อพยากตะนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในวิบากจิต ๓๖ ทั้งในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล, ที่ในกิริยา จิต ๒๐ ในปวัตติกาลอย่างเดียวเป็นนามอาหารปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐, วิบากจิตตชรูป, กิริยาจิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๒ ปัจจัย คือ

. นามอาหารปัจจัย                    . สหชาตาธิปติปัจจัย                  . สหชาตปัจจัย

. อัญญมัญญปัจจัย                   . สหชาตนิสสยปัจจัย                  . สหชาตกัมมปัจจัย

. วิปากปัจจัย                        . สหชาตินทริยปัจจัย                  . สัมปยุตตปัจจัย

๑๐. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย                 ๑๑. สหชาตัตถิปัจจัย                ๑๒. สหชาตอวิคตปัจจัย

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...