ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

บุญญาภิสังขาร

. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในมหากุสลชนิดที่เป็นทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุกโอมโกมกะ เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจยุบบันน ธรรมในปฏิสนธิกาล คือ อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง ให้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ และเทวดาชั้นต่ำ มีความพิกลพิการ บ้า ใบ้ หนวก บอด เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็น พวกสุคติอเหตุกบุคคล

. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในมหากุสล ชนิดที่เป็นติเหตุกโอมกุกกัฏฐะ ติเหตุกโอมโกมกะ ทวิเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐะ และทวิเหตุกอุกกัฏโฐมกะ เป็นปัจจัย ธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจยุบบันนธรรมในปฏิสนธิกาล คือ มหาวิบาก ญาณวิปปยุตต ๔ ดวง ให้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์และเทวดาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา มาแต่กำเนิด ซึ่งเรียกว่าเป็นพวก ทวิเหตุกบุคคล

. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในมหากุสลชนิดที่เป็นติเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐะ และติเหตุกอุกกัฏโฐมกะ เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจยุบบันน ธรรมในปฏิสนธิกาล คือ มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง ให้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ และเทวดาที่ประกอบด้วยปัญญามาแต่กำเนิด ซึ่งเรียกว่าเป็นพวก ติเหตุกบุคคล

. บุญญาภิสังขาร ทั้ง ๓ ข้อนี้ซึ่งได้แก่เจตนาในมหากุสลทั้ง ๘ เป็นปัจจัย ธรรม ให้เกิดปวัตติวิญญาณเป็นปัจจยุบบันนธรรมในปวัตติกาล คือ

. อเหตุกกุสลวิบาก ๘ ดวง ให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ถูกต้อง การรับอารมณ์ การไต่สวนอารมณ์ และการรับอารมณ์ต่อจากชวนะ เหล่านี้ ล้วนแต่ที่ดีทั้งนั้น

. มหาวิบาก ๘ ดวง ทำกิจรับอารมณ์ต่อจากชวนะ คือทำตทาลัมพนกิจ

. มหาวิบาก ๘ ดวง และอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง รวม ๙ ดวง ทำหน้าที่รักษาภพรักษาชาตินั้น ๆ (ภวังคจิต) กับทำหน้าที่จุติกิจด้วย

เจตนาในมหากุสลจิต ๘ ดวง ที่จำแนกเป็น ติเหตุกอุกัฏฐุกกัฏฐะ, ติเหตุกอุก กัฏโฐมกะ, ติเหตุกโอมกุกกัฏฐะ, ติเหตุกโอมโกมกะ, ทวิเหตุกอุกัฏฐุกกัฏฐะ, ทวิ เหตุกอุกกัฏโฐมกะ, ทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐะ และทวิเหตุกโอมโกมกะ รวม ๘ อย่างนี้ ได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่ ๕ หมวดที่ ๓ กัมมจตุกะ ตอนที่ตั้งแห่งวิบากจิต (ปากฐาน) นั้นแล้ว จึงไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก

. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในรูปาวจรกุสลจิต ๕ ดวง เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจยุบบันนธรรมในปฏิสนธิกาล คือ รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง ในปฏิสนธิเป็นรูปพรหมในรูปภูมิ ซึ่งเรียกว่าเป็นพวกติเหตุกบุคคล เหมือน กัน

. บุญญาภิสังขาร ได้แก่เจตนาในรูปาวจรกุสลจิต ๕ ดวง เป็นปัจจัยธรรม ให้เกิดปวัตติวิญญาณเป็นปัจจยุบบันนธรรมในปวัตติกาล คือการรักษาภพชาตินั้น ๆ (ภวังคจิต) ตลอดจนทำหน้าที่จุติกิจด้วย ส่วนอเหตุกกุสลวิบากจิต ๕ ดวง ให้ได้ เห็น(จักขุวิญญาณ), ให้ได้ยิน(โสตวิญญาณ), มีการรับอารมณ์(สัมปฏิจฉันนะ) และ การไต่สวนอารมณ์(สันตีรณะ) ล้วนแต่ที่ดีนั้นเป็นกามวิบาก

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...