ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

นิโรธอริยสัจจ

นิโรธอริยสัจจ เป็นสัจจที่ ๓ บ้างก็เรียกว่า นิโรธสัจจ หรือ ทุกขนิโรธ อริยสัจจ ซึ่งมีความมุ่งหมายเป็นอย่างเดียวกัน

นิโรธ แปลว่า ดับ ดังนั้นคำว่า ทุกขนิโรธ ก็คือ ทุกข์ดับ และในที่นี้มีความ หมายต่อไปอีกว่า ทุกข์ที่ดับนั้น ดับเลย ดับสนิท ดับสิ้น จนไม่มีเศษเหลืออยู่อีก แม้แต่น้อย เมื่อดับสนิทจนสิ้นไม่มีเศษแล้ว เชื้อที่จะก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ต่อไปอีก ก็ไม่มี ทุกข์นั้นจึงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้อีกเลย ดังนี้แหละนิโรธสัจจจึง หมายถึง นิพพาน เพราะนิพพานเป็นที่ดับสิ้นแห่งตัณหา ตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิด ทุกข์ เมื่อดับตัณหาอันเป็นต้นเหตุลงได้แล้ว ผลคือทุกข์อันเป็นปลายเหตุก็มีไม่ได้ อยู่เอง เพราะผลย่อมมาจากเหตุ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ เมื่อสิ้นทุกข์ ก็ถึงซึ่งความสุข ดังนี้ ลักขณาทิจตุกะแห่งนิพพานแสดงไว้ว่า

สนฺติ ลกฺขณา                             มีความสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ

อจฺจุต รสา                                  มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ

อนิมิตฺต ปจฺจุปฏฺฐานา             ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ

(วา) นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา          (หรือ) มีความออกไปจากภพ เป็นผล

ปทฏฺฐานํ น ลภฺภติ ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม ที่พ้นจากเหตุจากปัจจัยทั้งปวง)

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า นิโรธ หมายถึง นิพพาน ซึ่งเป็นความดับอย่างหนึ่ง ที่ดับอย่างสนิท ดับจริงดับจัง ดับแล้วเป็นดับ ไม่กลับติดต่อก่อเกิดอีก ดับอย่างนี้ แหละ เรียกว่า นิพพาน360.JPG (7040 bytes)

ดับกิเลส เรียก กิเลสนิพพาน ดับขันธ์ เรียกขันธนิพพาน ขันธ์ที่หมดกิเลส แล้ว เป็นขันธ์เปล่า ดุจดังสูญญาคารเรือนเปล่า ไม่มีอะไรรกรุงรัง น่าสบายใจ เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลสแล้ว ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็น สุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจากสุขเวทนา เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

จึงเป็นปัญหาต่อไปว่า สุขจะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน เพราะพระนิพพาน ไม่มีการเสวยอารมณ์

ใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ หน้า ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวย อารมณ์นั้นแหละ เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือเป็นทุกข์นั่นเอง

ดังนั้น สุขเวทนา ซึ่งเป็นสุขที่ได้จากการเสวยอารมณ์ จึงได้ชื่อว่า วิปริฌาม ทุกข เพราะความสุขนั้นจะต้องวิปริตผันแปรไปเป็นทุกข์อย่างแน่นอน

ส่วน สุขในนิพพาน ไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็น สันติสุข จึงไม่มีวันที่จะ ผันแปรไปเป็นอื่นเลย

การกล่าวถึงพระนิพพานเป็นการยากอย่างยิ่ง เพราะพระนิพพานไม่มีอะไร ไม่ใช่อะไร ไม่เหมือนอะไร ไม่คล้ายอะไร ในโลกทั้ง ๓ นี้เลย ทั้งพระบาลีก็มีห้าม ไว้ออกรอบทิศว่า

คมฺภีโร จายํ ธมฺโม                    ธรรมคือพระนิพพานเป็นของลึกซึ้ง

ทุทฺทโส                    อันบุคคลเห็นได้ยาก

ทุรานุโพโธ                    อันบุคคลตรัสรู้ตามด้วยยาก

สนฺโต                    เป็นของสงบระงับ

ปณีโต                    เป็นของประณีต

อตกฺกาวจโร ไม่เป็นที่เที่ยวแห่งการตรึก คือบุคคลจะนึกคาดคะเน เอาเองไม่ได้

นิปุโณ                    เป็นของละเอียด

ปณฺฑิตเวทนิโย                    เป็นของอันบัณฑิต คือพระอริยเจ้าจะพึงรู้

เมื่อยก พุทธภาษิต นี้ขึ้นอ้างแล้ว ก็เป็นอันว่าจะทราบซึ้งในพระนิพพานอย่าง แท้จริง ก็ต่อเมื่อได้แจ้งประจักษ์ด้วยตนเอง เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงได้ทรงเตือนว่า

อกฺขาตาโร ตถาคตา      ตถาคตเป็นผู้บอกทางให้

ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ     อันความเพียรนั้นท่านทั้งหลายต้องทำเอง


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...