ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อัชฌัตตะ และ พหิทธะ

อัชฌัตตะ คือ ภายใน พหิทธะ คือ ภายนอก จิต เจตสิก รูป ที่รูปกายนี้ เป็นภายใน จิต เจตสิก รูป ที่นอกรูปกายนี้ก็เป็นภายนอก

โอฬาริกะ และ สุขุมะ

โอฬาริกะ คือ หยาบ สุขุมะ คือ ละเอียด จะกล่าวถึงรูปก่อน รูปของสัตว์ ในอบายหยาบกว่ารูปกายของมนุษย์ รูปกายของมนุษย์หยาบกว่ารูปกายของเทวดา รูปกายของเทวดาก็หยาบกว่ารูปกายของรูปพรหม

กล่าวถึงจิตและเจตสิก ในชาติอกุสลนั้นหยาบกว่าในชาติกุสล ในชาติกุสล หยาบกว่าในชาติอพยากตะ ในกุสลญาณวิปปยุตตหยาบกว่าในกุสลญาณสัมปยุตต ในกามาวจรกุสลหยาบกว่าในรูปาวจรกุสล ในรูปาวจรกุสลก็ยังหยาบกว่าในอรูปา วจรกุสล เป็นชั้น ๆ กัน

จิตและเจตสิกที่มีทุกขเวทนาหยาบกว่าที่มีสุขเวทนา ที่มีโทมนัสเวทนาหยาบ กว่าที่มีโสมนัสเวทนา ที่มีสุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนาหยาบกว่าที่มีอุเบกขาเวทนา

จิตและเจตสิกที่ในทุคคติภูมิหยาบกว่าในสุคติภูมิ ในกามภูมิหยาบกว่าในรูป ภูมิ เป็นต้น เป็นชั้น ๆ กันไปในทำนองที่กล่าวนี้

หีนะ และ ปณีตะ

หีนะ คือ ต่ำทรามหรือเลว ปณีตะ คือ ประณีตหรือดียิ่ง นี้มีความหมายเป็น ทำนองเดียวกับโอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด นั้นเอง สิ่งใดที่หยาบก็นับว่า สิ่งนั้นเลว สิ่งใดที่ละเอียดก็นับว่าสิ่งนั้นประณีต

สันติเก และ ทูเร

สันติเก คือ ใกล้ ทูเร คือ ไกล จิต เจตสิก รูป ที่อยู่ในภูมิเดียวกัน และ ประเภทเดียวกัน เช่นเป็นสัตว์ดิรัจฉานเหมือนกันและเป็นแมวเหมือนกัน หรือเป็น มนุษย์เหมือนกันและมีปัญญาเหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น จัดว่าใกล้กัน แต่ว่าแมวกับ ปลา คนมีปัญญากับคนนับสิบไม่ถูก จัดว่าไกลกัน เพราะแม้ว่าจะเป็นสัตว์ในภูมิ เดียวกันก็ตาม แต่ว่าเป็นสัตว์ต่างประเภทกัน ยิ่งเป็นสัตว์ที่ต่างภูมิกันด้วยแล้ว ก็ยิ่ง ไกลกันมาก

จิตโลภกับโกรธจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นชาติอกุสลเหมือนกัน และจัดว่า ไกลกันก็ได้ เพราะว่าเป็นจิตต่างประเภทกัน

355.JPG (10957 bytes)จิตโลภกับจิตมหากุสลจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นกามจิตเหมือนกัน และจัด ว่าไกลกัน ก็เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นชาติอกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นชาติกุสล

จิตมหากุสลกับจิตมหัคคตกุสลจัดว่าใกล้กันก็ได้ เพราะเป็นชาติกุสลเหมือน กันและเป็นโลกียจิตเหมือนกัน และจัดว่าไกลกันก็ได้ เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นกามกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นมหัคคตกุสล

ส่วนนิพพาน จะจัดว่าเป็นธรรมที่ใกล้ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะไม่มีอะไรหรือ สิ่งใดเหมือน หรือแม้แต่จะใกล้เคียงกับนิพพานเลย นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีใน กามโลก รูปโลก หรือ อรูปโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก พ้นจากโลก ทั้ง ๓ ด้วยเหตุ นี้ นิพพาน จึงเป็นธรรมที่ไกลแต่อย่างเดียว ไม่มีใกล้เลย

ข้ออุปมาปัญจขันธ์

ใน สังยุตตนิกายพระบาลี แห่งพระสุตตันตปิฎก ได้อุปมาปัญจขันธ์ หรือ เบ็ญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ นี้ว่า

รูปเปรียบเหมือนภาชนะ เวทนาเปรียบเหมือนข้าว สัญญาเปรียบเหมือน กับข้าว สังขารเปรียบเหมือนคนทำกับข้าว วิญญาณเปรียบเหมือนผู้บริโภค ขันธ์ ๕ มีอุปมาโดยลำดับดังนี้

อีกนัยหนึ่ง ได้อุปมาเบ็ญจขันธ์ นี้ว่า

รูปเปรียบด้วยก้อนแห่งฟองน้ำ เวทนาเปรียบด้วยต่อมน้ำ สัญญาเปรียบด้วย พยับแดด สังขารเปรียบด้วยต้นกล้วย วิญญาณเปรียบด้วยการเล่นกล นี่เป็นคำ เทสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...