ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สรุปสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน ๔ นี้ สรุปความได้โดยย่อว่า

การเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นว่า กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนา ก็สักแต่ว่าเวทนา จิตก็สักแต่ว่าจิต ธรรมก็สักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา แม้ญาณความรู้นั้น ก็เพียงสักแต่ว่ารู้ สติที่ระลึก ก็เพียงแต่ว่าอาศัย ระลึก ไม่อิงอาศัย ตัณหา ความอยาก และ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน สิ่งหนึ่งสิ่งใด กล่าวคือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา(ยึดมั่นใน ตัณหา) เอโส หมสฺมิ เราเป็นนั่น(ยึดมั่นในมานะ) เอโส เม อตฺตา นั่นเป็นตัว ของเรา(ยึดมั่นใน ทิฏฐิ) อย่างนี้แหละจึงจะเรียกว่า เจริญสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณารูปธรรม เมื่อกำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นชัดในรูปก็เรียกว่าถึง รูปปริจเฉทญาณ

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามเจตสิก เมื่อ กำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดในนามเจตสิก ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามจิต เมื่อกำหนดจน เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดในนามจิต ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณาทั้งรูปธรรมและนามธรรม เมื่อกำหนด จนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดทั้งรูปทั้งนาม ซึ่งแยกจากกันได้ว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน รูปอยู่ส่วนรูป นามเป็นส่วนนาม ไม่ปะปนกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน รู้เห็นเช่นนี้แล้วก็ เรียกว่าถึง นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นญาณต้นแห่ง โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ซึ่งเป็นทางให้บรรลุถึง มัคคญาณ ผลญาณต่อไป


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...