ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ปัสสัทธิเจตสิก ที่มีความสงบกายสงบใจในการ เจริญสติปัฏฐาน ผู้เจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีสติ มีปัญญา มีวิริยะอย่างจริงจัง จนเกิด ปีตินั้น ขณะนั้นปีติมีกำลังกล้า ทำให้จิตใจตื่นเต้นมาก ต่อเมื่ออาการตื่นเต้นในปีติ สงบลงแล้ว ปัสสัทธิก็มีกำลังขึ้น ทำให้จิตและเจตสิกมีความเยือกเย็น สงบ ประณีต ถ้าอาการอย่างนี้มีมากไป ก็อาจจะทำให้สำคัญคิดผิดไปว่าความสงบนี้แหละ คือพระ นิพพาน เหตุนี้ปัสสัทธิจึงจัดเป็นวิปัสสนูปกิเลส คือเป็นเครื่องเศร้าหมองของ วิปัสสนาประการหนึ่งในจำนวนทั้งหมด ๑๐ ประการ ปัสสัทธิอย่างนี้ไม่ใช่ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ต้องเป็นไปในอารมณ์ไตรลักษณ์แห่งรูปนาม ปัสสัทธิที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายความกระด้างกาย และ ความเร่าร้อนใจเสียได้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จะเกิดได้ด้วยอุปการะธรรม ๗ ประการ คือ

. บริโภคอาหารที่สมควร ทั้งปริมาณและคุณภาพ

. แสวงหาที่ที่มีอากาศพอเหมาะพอสบาย

. ใช้อิริยาบถที่สบาย

. พิจารณารู้ว่ากรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน

. เว้นจากผู้ที่ไม่มีสีล

. สมาคมกับผู้ที่มีกาย วาจา ใจ สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน

. หมั่นเจริญสติปัฏฐานเนือง ๆ

เมื่อบริบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านี้แล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมจะเกิด ขึ้น

องค์ธรรมของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวน จิต ๓๔


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...