ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๓  อิทธิบาท ๔

อิทฺธิยา ปาโทติ อิทฺธิปาโท ฯ ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ชื่อว่า อิทธิบาท

คำว่า สัมฤทธิผล ในที่นี้หมายถึง ความสำเร็จ คือ บรรลุถึงกุสลญาณจิต และมัคคจิต

ฉนฺโท เอว อิทฺธิปาโทติ ฉนฺทิทฺธิปาโท ฯ ฉันทะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท

วิริโย เอว อิทฺธิปาโทติ วิริยิทฺธิปาโท ฯ วิริยะเป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิริยิทธิบาท

จิตฺตญฺเญว อิทฺธิปาโทติ จิตฺติทฺธิปาโท ฯ จิต เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า จิตติทธิบาท

วิมํสา เอว อิทฺธิปาโทติ วิมํสิทฺธิปาโท ฯ วิมังสา คือ ปัญญา เป็นเหตุให้ถึง สัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า วิมังสิทธิบาท

ดังนี้จะเห็นได้ว่าองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต และปัญญา ซึ่งเหมือนกับองค์ธรรมของอธิบดี และมีความหมายว่า เป็นไปเพื่อให้กิจการงาน นั้น ๆ เป็นผลสำเร็จเหมือนกัน ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ

อธิบดีนั้นเป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงาน อันเป็น กุสล อกุสล และ อพยากตะ ได้ทั้งนั้น

ส่วนอิทธิบาทนี้ เป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงานอันเป็นกุสล แต่ฝ่าย เดียว และเป็นกุสลที่จะให้บรรลุถึงมหัคคตกุสล และโลกุตตรกุสลด้วย

ดังนั้น ฉันทะ วิริยะ จิต(กิริยาจิต) และปัญญา ของพระอรหันต์ จึงไม่ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ที่สัมฤทธิผลจนสุดยอดแล้ว ไม่ต้องทำให้สัมฤทธิ ผลอย่างใด ๆ อีก

ฉันทะ วิริยะ จิต และ ปัญญา ที่อยู่ในโลกุตตรวิบากจิต คือผลจิตนั้นก็ไม่ชื่อ ว่าอิทธิบาท เพราะผลจิตเป็นจิตที่ถึงแล้วซึ่งความสัมฤทธิผล

อิทธิบาท มี ๔ ประการ คือ

. ฉันทิทธิบาท ความเต็มใจความปลงใจกระทำ เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

. วิริยิทธิบาท ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

. จิตติทธิบาท ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ จิต คือ กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗328.JPG (9316 bytes)

. วิมังสิทธิบาท ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

กิจการงานอันเป็นกุสลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๔ ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้เลย แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน บางที ฉันทะกล้า บางทีวิริยะกล้า บางทีจิตกล้า บางทีก็ปัญญากล้า ถ้าธรรมใดกล้าแล้ว ก็ เรียกธรรมที่กล้านั่นแต่องค์เดียว ว่าเป็น อิทธิบาท


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...