ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

๑๖. หทยรูป

       หทยรูป แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง

       (๑) มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมที่แกะกลีบ ออกมา แล้วเอาปลายห้อยลง ภายในนั้นเหมือนรังบวบขม

       (๒) วัตถุหทยรูป ได้แก่ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นรูปที่เกิดจาก กรรม ที่ตั้งของหทยรูปนั้น ตั้งอยู่ในช่องที่มีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ด ดอกบุนนาค ในช่องนี้มี น้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป

       น้ำเลี้ยงหัวใจนี้แหละเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิบาก ๔ ) อันเป็นปัจจัยให้เกิดทั้งความดีและความชั่ว

       น้ำเลี้ยงหัวใจ คือ หทยรูป หรือ หทยวัตถุ หรือ วัตถุหทยรูป นี้มีมากสี ด้วยกัน ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่จริตของบุคคล กล่าวคือ

       บุคคลที่มากด้วย    ราคจริต      น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี       แดง

          "     "            โทสจริต     "     "                ดำ

          "     "           โมหจริต     "     "       หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ

          "     "           วิตกจริต     "     "        เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู

          "     "            สัทธาจริต           "     "เหลืองอ่อนคล้ายสีดอกกัณณิกา

          "     "           พุทธิจริต     "     " ขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย

       หทยรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

       มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ นิสฺสย ลกฺขณํ มีการให้มโนธาตุ และมโน-                                             วิญญาณธาตุได้อาศัยเกิด เป็นลักษณะ

       ตาสญฺเญว ธาตูนํ อธารน รสํ      มีการทรงไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นกิจ

       ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ             มีการรักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นผล

       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ         มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

       หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้เลย ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป

       สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า หทยรูป

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...