ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ประเภทที่ ๔ ภาวรูป

       ภาวรูป คือ รูปที่แสดงให้รู้สภาพหญิงและชาย ด้วยอาศัยรูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย อัธยาสัย และกิริยาอาการเป็นเครื่องแสดงให้รู้

       ภาวรูปมี ๒ คือ

       ๑. อิตถีภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)

       ๒. ปุริสภาวรูป รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย (เป็นรูปที่เกิดจากกรรม)

๑๔. อิตถีภาวรูป

       อิตถีภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง รูปใดที่เป็นเหตุแห่งความ เป็นหญิง รูปนั้นชื่อว่า อิตถีภาวะ

       อิตถีภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

       อิตฺถีภาว ลกฺขณํ                           มีสภาพของหญิง เป็นลักษณะ

       อิตฺถีติปกาสน รสํ                         มีปรากฏการณ์ของหญิง เป็นกิจ

       อิตฺถีลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ     มีอาการของหญิงเป็นต้น เป็นผล

       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ                มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้

๑๕. ปุริสภาวรูป

       ปุริสภาวรูป คือ รูปที่เป็นเหตุแห่งความเป็นชาย รูปใดเป็นเหตุแห่งความเป็น ชาย รูปนั้นชื่อว่า ปุริสภาวะ

       ปุริสภาวรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

       ปุริสภาว ลกฺขณํ            มีสภาพของชาย เป็นลักษณะ

       ปุริโสติปกาสน รสํ          มีปรากฏการณ์ของชาย เป็นกิจ

       ปุริสลิงฺคาทีนํ การณภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ            มีอาการของชายเป็นต้น เป็นผล

       จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ                       มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

 

       ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย ที่จะรู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย มีสิ่งที่เป็นเครื่อง อาศัยให้รู้ได้ ๔ ประการ คือ

       (๑) ลิงฺค ได้แก่ รูปร่างสัณฐาน ที่บอกเพศอันมีมาแต่กำเนิดซึ่งจะปรากฏ ตั้งแต่เมื่อคลอดออกมา เช่น มีแขน ขา หน้าตา เพศ ซึ่งแสดงตั้งแต่กำเนิด

       (๒) นิมิตฺต เครื่องหมาย หรือสภาพความเป็นอยู่ เครื่องหมายนั้นหมายถึง สิ่งที่ปรากฏต่อมา สำหรับหญิงอกก็เริ่มโตขึ้น สำหรับชายก็มีหนวดมีเคราส่วนสภาพ ความเป็นอยู่นั้น หญิงก็ชอบเย็บปักถักร้อยเข้าครัว ชายก็ชอบต่อยตียิงปืนผาหน้าไม้  (๓) กุตฺต หมายถึง นิสัย คือความประพฤติที่เคยชิน หญิงก็นุ่มนวล อ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนชายก็ห้าวหาญ เข้มแข็ง ว่องไว การเล่นของชายกับหญิง ก็ไม่เหมือนกัน ชายชอบยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ หญิงก็จะเล่นการทำอาหาร ฯลฯ

       (๔) อากปฺป ได้แก่ กิริยาอาการ เช่น การเดิน ยืน นั่งนอน การกิน การพูด ถ้าเป็นหญิงก็จะเอียงอาย แช่มช้อยนุ่มนวล ถ้าเป็นชายก็จะองอาจ เด็ดเดี่ยว หรือ แข็งกร้าว เป็นต้น

       ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องแสดงให้รู้ถึงเพศหญิงหรือชาย ย่อมปรากฏไปตาม ภาวรูปทั้ง ๒ ถ้ามีอิตถีภาวรูปเป็นผู้ปกครองในร่างกายนั้น ก็จะมีรูปร่างสัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นหญิง ถ้ามีปุริสภาวรูปเป็นผู้ปกครองในร่างกายนั้น ก็จะมีรูปร่าง สัณฐาน มีกิริยาอาการเป็นชาย ทั้งนี้ก็เพราะเนื่องจากกรรม คือ

       ผู้ที่ได้อิตถีภาวรูป เพราะชาติแต่ปางก่อนได้ประกอบกุสลกรรมอย่างอ่อนที่ เรียกว่า ทุพฺพลกุสลกมฺม เป็นกรรมที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสก็จริง แต่ก็เจือปน ไปด้วยความไหวหวั่น (อวิสทฺธาการ)

       ส่วนผู้ที่ได้ปุริสภาวรูป เพราะอดีตชาติได้ประกอบกุสลกรรมที่สูงส่งด้วยสัทธา ความเลื่อมใส แรงด้วยอธิโมกข์ความชี้ขาด ปราศจากความหวั่นไหว อันจะเป็นเหตุ ให้เกิดความย่อหย่อน กุสลกรรมอย่างนี้เรียกว่า ลวกุสลกมฺม เป็นกุสลกรรมอัน ทรงพลัง จึงยังผลให้เกิดเป็นชาย

?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...