สติปัฎฐาน ๔
Home || เกริ่นนำ เรื่องสติ || อิริยาบถบรรพ || อายตนบรรพ || อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔ || อานาปานบรรพ ||
|| สัมปชัญญบรรพ || เวทนานุปัสสนา  || ปฏิกูลมนสิการบรรพ || นวสีวถิกาบรรพ ||
|| ทุกขอริยสัจ || ทุกขสมุทัยอริยสัจ2 ||  ทุกขนิโรธอริยสัจ || ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ||
|| ขันธบรรพ || กถาว่าด้วยอุทเทสวาร ||
ถาม - ตอบวิปัสสนา ||

พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ 279-287 หน้า 215-221

มหาสติปัฏฐานสูตร

---------------------------------------------------------------------

กายานุปัสสนา

นวสีวถิกาบรรพ

  [ ๒๗๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ(ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้

  แล้วในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง หรือตายแล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน อันพองขึ้น สีเขียวน่าเกลียดเป็นสรีระมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า

  ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้

  ดังนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น   กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ

  ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ(ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง

  ฝูงนกตระกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง

  เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกาย อันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้

  ดังนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น  กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่

  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๑ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด อันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่

  เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกาย อันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้

  ดังนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น  กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่

  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้ง

  ไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก เปื้อนด้วยเลือด แต่ปราศจากเนื้อแล้ว  ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่

 

  เธอก็น้อมเข้า  มาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้

  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น   กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่

  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

 

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว

  ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้

  ดังนี้  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น  กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง  ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่

  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือ เป็น ( ท่อน ) กระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้ว กระจายไปแล้วในทิศน้อยและ ทิศใหญ่ คือ กระดูกมือ ( ไปอยู่ ) ทางอื่น กระดูกเท้า ( ไปอยู่ ) ทางอื่น

  กระดูกแข้ง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกขา (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกสะเอว (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกหลัง (ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกสันหลัง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกซี่โครง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกหน้าอก (ไปอยู่)ทางอื่น กระดูกไหล่ (ไปอยู่) ทางอื่น  กระดูกแขน (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกคอ (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกคาง(ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกฟัน  (ไปอยู่) ทางอื่น กระโหลกศีรษะ (ไปอยู่) ทางอื่น

  เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มี  อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้

  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น  กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่

  อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

 

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ(ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือ เป็น ( ท่อน ) กระดูก มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์  เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกาย  อันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้

  ดังนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น   กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง  ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่

  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือ เป็น ( ท่อน ) กระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว มีในภายนอก (เกิน) ปีหนึ่ง ไปแล้ว เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้

  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น  กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง  ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่

  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  [ ๒๘๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ( ซากศพ ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือ เป็น ( ท่อน ) กระดูก ผุละเอียดแล้ว เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้

  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น  กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่

  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้  

จบข้อกำหนดว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อ

จบกายานุปัสสนา

 nbar.gif (5599 bytes)

 พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า 3๐5-3๐9

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

--------------------------------------------------------------------- --

นวสีวถิกาบรรพ

  พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางธาตุมนสิการอย่างนี้แล้ว

  บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนก  ด้วยนวสีวัฏฐิกาบรรพ ข้อกำหนดว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อ จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น บรรดาเหล่านั้น

  บทว่า เหมือนอย่างว่า เห็น คือ เหมือนอย่างว่าพบ

  บทว่า สรีระ คือสรีระของคนตาย

  บทว่า ที่เขาทิ้งไว้ที่ป่าช้า คือที่เขาปล่อยทิ้งไว้ในที่สุสาน ซากศพที่ชื่อว่า ตายแล้ววันเดียว เพราะเป็นซากที่ตายได้แล้ว ๑ วัน

  ที่ชื่อว่าตายแล้ว ๒ วัน เพราะเป็นซากที่ตายได้แล้ว ๒ วัน ที่ชื่อตายแล้ว ๓ วัน เพราะเป็นซากที่ตายได้แล้ว ๓ วัน ที่ชื่อว่าศพที่พองขึ้น เพราะเป็นศพที่พองขึ้นโดยเป็นศพที่ขึ้นอืดตามลำดับตั้งแต่สิ้นชีพไป เหมือนลูกสูบ ช่างทองอันพองขึ้นด้วยลม ศพที่พองขึ้นนั่นแล ชื่อว่า อุทธุมาตกะ อีกนัยหนึ่ง

  ศพที่พองขึ้นน่าเกลียด เพราะเป็น ของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อุทธุมาตกะ

  ศพที่มีสีต่างๆ เจือเขียว เรียกว่า  ศพที่มีสีเขียวเจือ ศพที่มีสีเขียวเจือนั่นแล ชื่อว่า วินีลกะ

  อีกนัยหนึ่งศพที่มีสีเขียวน่าเกลียด เพราะเป็นปฏิกูล เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า วินีลกะ

  คำว่า วินีลกะ นี้เป็นชื่อของซากศพมีสีแดง ในที่เนื้อนูนหนา มีสีขาวในที่อันบ่มหนอง โดยมากมีสีเขียว ในที่

  ควรเขียว คล้ายผ้าห่มสีเขียว ศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกจากที่ปริแตกทางปากแผลทั้ง ๙ (ตา ๒ , หู ๒ , จมูก ๒ , ปาก ๑ , ทวารเบา ๑ , ทวารหนัก ๑ ) บ้าง ชื่อว่าศพมีน้ำเหลืองไหล

  ศพมีน้ำเหลืองไหลนั่นแล ชื่อว่า วิบุพพกะ

  อีกนัยหนึ่ง ศพมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เพราะเป็นปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิบุพพกะ

  ศพที่เป็น วิบุพพกะเกิดแล้ว คือ ถึงความเป็นซากศพมีน้ำเลืองไหลอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า วิบุพพกชาตะ

  ข้อว่า โส อิมเมว กายํ ความว่า

  ภิกษุนั้นใช้ญาณนั้นแหละน้อมนำกายของตนนี้ไปเปรียบกับ กายอันนั้น ( ซากศพ )

  เปรียบอย่างไร เปรียบว่า กายนี้แล มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงความเป็นอย่างนั้นไปได้

  กายที่ปราศจาก อายุ - ไออุ่น - วิญญาณ - เป็นซากศพ

  ท่ายอธิบายว่า กายนี้ยังทน ยืน เดิน เป็นต้นอยู่ได้ ก็เพราะมีธรรม ๓ อย่างนี้คือ  อายุ ไออุ่น และวิญญาณ

  แต่เพราะธรรม ๓ อย่างนี้พรากจากกัน แม้กายนี้ จึงต้องมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา  คือมีสภาพเปื่อยเน่าอย่างนั้นเหมือนกัน ต้องเป็นอย่างนั้น

  คือ จักเป็นประเภทศพขึ้นพองเป็นต้นอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้

  คือ ไม่ล่วงพ้นความเป็นศพพองขึ้นเป็นต้นอย่างนั้นไปได้

  ข้อว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน ในกายของคนอื่น

หรือในกายของตน  ตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดซากศพเป็นต้นอย่างนี้อยู่ เทียบกายด้วยซากศพ

  บทว่า ขชฺชมานํ อันสัตว์กัดกินอยู่ ได้แก่ศพอันสัตว์มีแร้ง กา เป็นต้น

  จับที่อวัยวะ เช่นท้องเป็นต้น แล้วดึงเนื้อท้อง เนื้อปาก เบ้าตา เป็นต้น

  จิกกินอยู่ บทว่า สมํสโลหิตํ ยังมีเนื้อและเลือด คือศพที่มีเนื้อและเลือด ยังเหลืออยู่

  บทว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ ที่ปราศจากเนื้อแต่เปื้อนเลือด คือเมื่อเนื้อหมดไปแล้ว แต่เลือดยังไม่แห้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาศพประเภทนั้น จึงตรัสว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ

  บทว่า อญฺเญน คือ  ศพไปทางทิศอื่น หตฺถฏฐิกํ กระดูกมือ ความว่า กระดูกมือมีประเภทถึง ๖๔ ชิ้น กระจัดกระจายแยกกันไป แม้กระดูกเท้าเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน

  บทว่า เตโรวสฺสิกานิ เกินปีหนึ่งขึ้นไป คือล่วงปีไปแล้ว

  บทว่า ปูตีนิ  เป็นของผุ ความว่า กระดูกอันตั้งอยู่กลางแจ้ง ย่อมผุเปื่อย เพราะกระทบ ลม แดด และฝน ส่วนกระดูกที่อยู่ใต้พื้นดิน ย่อมตั้งอยู่ได้นานกว่า

  บทว่า จุณฺณกชาตานิ เป็นผง คือแหลกเป็นผง กระจัดกระจายไป พึงประกอบ ความเข้าใจในข้อทั้งโดยบทว่า ขชฺชมานํ อันสัตว์กัดกินเป็นต้น

  โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ว่าเธอก็น้อมกายอันนี้นี่แลเข้าไปเทียบกับศพ เป็นต้น

  ข้อว่า หรือภายใน เป็นต้น ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน ในกายของคนอื่น หรือในกาย

  ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดซากศพอันสัตว์กัดกิน เป็นต้น จนถึงเป็นกระดูกอันแหลกเป็นผงอย่างนี้อยู่ จัดเป็นบรรพ ป่าช้า ๙ ข้อที่อยู่ในนวสีวถิกาบรรพนี้

  บัณฑิตพึงจัดประมวลมาดังนี้ คือ

  ๑. ข้อที่ตรัสเป็นนัยเป็นต้นว่า ศพที่ตายแล้วได้วันหนึ่งบ้าง   แม้ทั้งหมดเป็นบรรพหนึ่ง

  ๒. ข้อที่ว่า ศพที่ฝูงกาจิกกินบ้าง เป็นต้น เป็นบรรพอันหนึ่ง

  ๓. ข้อที่ว่า ร่างกระดูก ที่ยังมีเนื้อ และเลือดมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่  เป็นบรรพหนึ่ง

  ๔. ข้อว่า ปราศจากเนื้อแต่เปื้อนเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพหนึ่ง

  ๕. ข้อที่ว่า ปราศจากเนื้อและเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพหนึ่ง

  ๖. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ที่ปราศจากเส้นเอ็นรัดรึงแล้วเป็นต้น เป็นบรรพหนึ่ง

  ๗. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ขาว คล้ายสีสังข์ เป็นบรรพหนึ่ง

  ๘. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่กองเรี่ยราย เกินปีหนึ่งขึ้นไป เป็นบรรพหนึ่ง

  ๙. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่ผุ แหลกเป็นผง เป็นบรรพหนึ่ง

  พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงป่าช้าทั้ง ๙ แล้ว จะทรงจบกายานุปัสสนา

  จึงตรัสคำนี้ว่า เอวํ โข ภิกฺขเว อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เป็นต้น  

 

สติกำหนดซากศพ เป็นอริยสัจ ๔

  ในนวสีวถิกาบรรพนี้

  สติอันกำหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ

  ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติ  กำหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ เป็นอารมณ์นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสมุทัยสัจ

  การหยุดทุกขสัจ  และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ

  อริยมรรคอันกำหนดทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์เป็นมรรคสัจ

 

  ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล

  นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดสติ กำหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อเป็นอารมณ์ อย่างนี้แล


จบกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน

TOP :: HOME

ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...