สติปัฎฐาน ๔
Home || เกริ่นนำ เรื่องสติ || อิริยาบถบรรพ || อายตนบรรพ || อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔ || อานาปานบรรพ ||
|| สัมปชัญญบรรพ || เวทนานุปัสสนา  || ปฏิกูลมนสิการบรรพ || นวสีวถิกาบรรพ ||
|| ทุกขอริยสัจ || ทุกขสมุทัยอริยสัจ2 ||  ทุกขนิโรธอริยสัจ || ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ||
|| ขันธบรรพ || กถาว่าด้วยอุทเทสวาร ||
ถาม - ตอบวิปัสสนา ||

พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ 276 หน้า 212-213

มหาสติปัฏฐานสูตร

-----------------------------------------------------------------------------

กายานุปัสสนา

สัมปชัญญบรรพ

  [ ๒๗๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้รู้พร้อม) ในการ  ก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง a42.JPG (11567 bytes)
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการแลไปข้างหน้า
 แลเหลียวไปข้างซ้าย  ข้างขวา ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก

  ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม

  ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

  ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่ ดังนี้

  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ  ความเสื่อมไปในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่

  อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

จบข้อกำหนดว่าด้วยสัมปชัญญะ

TOP

  nbar.gif (5599 bytes)

 พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า 302 อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

---------------------------------------------------------------------

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรa43.JPG (9687 bytes)

สัมปชัญญบรรพ

  พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา โดยทางอิริยาบถ ๔ อย่างนี้แล้ว

  บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนก  โดยทางสัมปชัญญะ ๔ จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น ในสัมปชัญญบรรพนั้น

  คำว่า   ก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ทรงพรรณนาไว้แล้ว ในสามัญญผลสูตร

  คำว่า หรือภายใน ความว่า  พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น

  หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล

  โดยกำหนดสัมปชัญญะ ๔ อย่างนี้อยู่ ความเกิด และความเสื่อมของรูปขันธ์นั้นแล

  พึงนำออกแสดงในคำว่า พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิด เป็นต้น

  คำบาลีเป็นต้นว่า สติ ของเธอก็ปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ ความว่า  สติของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งเฉพาะอย่างนี้ว่า

  กายแลมีอยู่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร

  คำว่า เพียงเท่านั้น นี้เป็นเครื่องกำหนดเขตแห่งประโยชน์

  ท่านอธิบายว่า สติที่เข้าไปตั้งอยู่นั้น a44.JPG (3100 bytes)

  หาใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่นไม่ ที่แท้ก็เพียงเพื่อประโยชน์สักว่า ความรู้ คือ ประมาณแห่งความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป

  และประมาณแห่งสติเท่านั้น

  อธิบายว่า เพื่อความเจริญแห่งสติสัมปชัญญะ คำว่า

  ไม่ถูกกิเลส อาศัยอยู่ ความว่า ไม่ถูกกิเลสอาศัย ด้วยอำนาจแห่งกิเลสเป็นที่อาศัย คือตัณหา และทิฏฐิอยู่

  คำว่า   ไม่ยึดถือสิ่งไรๆ ในโลกด้วย

  ความว่า ไม่ถือสิ่งไรๆ ในโลก คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานว่า นี้เป็นตัวของเรา นี้มีในตัวของเรา

สติกำหนดสัมปชัญญะ เป็นอริยสัจ ๔

  ในสัมปชัญญบรรพนี้ สติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ เป็นทุกขสัจ

  ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติกำหนดสัมปชัญญะ ๔ นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสมุทัยสัจ

  การไม่เกิดทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ

  อริยมรรคมีประการดังกล่าว  มาแล้วเป็นมรรคสัจ

  ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้  ย่อมบรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล

  นี้เป็น ทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดสัมปชัญญะ ๔ รูปหนึ่งฉะนี้แล


จบสัมปชัญญบรรพ

TOP :: HOME

ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...