ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ตทาลัมพนนิยม

          ตทาลัมพนนิยม แปลว่า ข้อจำกัดอันแน่นอนของตทาลัมพนะ มีความหมาย ว่า การที่ตทาลัมพนะจะเกิดได้นั้น มีข้อจำกัดประการใดบ้าง ตทาลัมพนะควรจะเกิด แต่มีข้อจำกัดอย่างใดบ้างที่ทำให้เกิดไม่ได้ และเมื่อตทาลัมพนะที่ควรจะเกิดแต่เกิด ไม่ได้แล้ว มีข้อจำกัดว่ามีอะไรเกิดมาแทนหรือไม่

          ข้อจำกัดในการเกิดขึ้นของตทาลัมพนะนี้ มีความหมายว่า ชวนะ สัตว์ อารมณ์ ที่เป็นกาม นั้น ตทาลัมพนะย่อมเกิดได้ในวิภูตารมณ์วิถี และอติมหันตา รมณ์วิถี

อธิบาย

          ตทาลัมพนะ หรือ ตทารัมมณะ มีความหมายอย่างเดียวกัน มาจากคำว่า ตํ(นั้น) + อารมฺมณ(อารมณ์) = อารมณ์นั้น คงได้ความว่า ตทาลัมพนะจะเกิดได้ ต่อเมื่อครบองค์  ดังนี้คือ

          . ชวนะ          ต้องเป็น          กามชวนะ

          . สัตว์          ต้องเป็น          กามบุคคล

          . อารมณ์   ต้องเป็น           กามอารมณ์  

          . วิถี          ต้องเป็น          วิภูตารมณ์ หรือ อติมหันตารมณ์วิถี

          ในข้อ ๑. ที่ว่า ชวนะต้องเป็นกามชวนะนั้น จะเป็นทางปัญจทวารวิถี หรือ มโนทวารวิถีก็ได้ แต่ถ้าเป็นอัปปนาชวนะ คือ มหัคคตชวนะ หรือโลกุตตรชวนะ แล้ว ตทาลัมพนะย่อมไม่เกิด

          ในข้อ ๒. ที่ว่า สัตว์ต้องเป็นกามบุคคลนั้น หมายถึงบุคคลในกามภูมิ แต่ถ้า บุคคลนั้นเป็นพรหมในรูปภูมิก็ดี ในอรูปภูมิก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด

          ในข้อ ๓ ที่ว่า อารมณ์ต้องเป็นกามอารมณ์นั้น หมายเฉพาะกามอารมณ์ที่เป็น ปรมัตถเท่านั้น แต่ถ้ากามอารมณ์นั้นเป็นบัญญัติอารมณ์ก็ดี หรือว่าเป็น มหัคคต อารมณ์ หรือเป็นโลกุตตรอารมณ์ก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด

          ในข้อ ๔ ที่ว่า วิถีต้องเป็นวิภูตารมณ์วิถี หรืออติมหันตารมณ์วิถีนั้น ความชัด อยู่แล้วว่า วิถีนอกจากนี้ คือ อวิภูตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี อติปริตตารมณ์วิถีนั้น ตทาลัมพนะเกิดไม่ได้อยู่แล้ว

          เมื่อครบองค์ดังกล่าว ตทาลัมพนะจึงจะเกิดได้ ตทาลัมพนะที่เกิดนี้จะเป็น กุสลวิบาก หรือ อกุสลวิบาก และจะเป็นโสมนัส หรืออุเบกขา ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ อารมณ์ ที่มาประสบนั้นเป็นสำคัญโดยมีข้อจำกัดว่า

          . อารมณ์นั้นเป็น อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีมาก ตทาลัมพนะที่เกิด ย่อมเป็นกุสลวิบาก และเป็นโสมนัสด้วย

          . อารมณ์นั้นเป็น อิฏฐารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่ดีอย่างปานกลาง อย่างสามัญ ทั่ว ๆ ไป ตทาลัมพนะที่เกิดก็เป็นกุสลวิบากเหมือนกัน แต่เป็นอุเบกขา

          . แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็น อนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดีแล้วไซร้ ตทาลัมพนะ ที่เกิดต้องเป็นอกุสลวิบาก และเป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างเดียว

          ทั้งนี้ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ “กุสลวิบาก และ อกุสลวิบาก” ที่หน้า ๑๒ ขอให้ดูประกอบด้วย

          นอกจากนี้แล้ว ยังมีที่กล่าวถึงในเรื่องตทาลัมพนะ ดังจะกล่าวต่อไปอีกเพียง เท่านี้ คือ

          กามาวจรกิริยาชวนะ ในสันดานแห่งพระขีณาสพนั้น ถ้าประกอบด้วยโสมนัส ตทาลัมพนะที่เกิดในที่สุดชวนะนั้น ก็เป็นโสมนัส

          ถ้ากามาวจรกิริยาชวนะ ประกอบด้วยอุเบกขา ตทาลัมพนะในที่สุดชวนะ ก็คงเป็นอุเบกขาไม่แปรผันเลย ด้วยสันดานแห่งพระขีณาสพปราศจากสัญญาวิปลาส

          ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดในตอนนี้ เป็นการแสดงการเกิดขึ้นของตทาลัมพนะ แต่ว่าในบางกรณีตทาลัมพนะควรจะต้องเกิด แต่ก็เกิดไม่ได้ จำต้องมีสิ่งอื่นมาเกิด แทน สิ่งที่มาเกิดแทนนั้นมีชื่อเรียกว่า อาคันตุกภวังค และก็มีข้อจำกัดว่า ในกรณี ใดบ้างที่จะต้องมี หรือไม่มี อาคันตุกภวังค ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...