ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ความหมายของจิตตุปปาทะ วิถีจิต และ ขณะ

          คำว่า จิตตุปปาทะ คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบ ในที่นี้มี ความหมายว่า ในวิถีนั้นมีจิตเกิดขึ้นกี่ดวง นับแต่ อาวัชชนจิต คือ จิตที่รับอารมณ์ ใหม่เป็นต้นไป ส่วน ภวังคจิต แม้จะมีอยู่ในวิถีนั้นด้วยก็ไม่นับ เพราะภวังคจิตเป็น จิตที่รับอารมณ์เก่าดังกล่าวแล้วข้างต้น จิตเกิดขึ้นในวิถีนั้นกี่ดวงก็นับเรียงดวงไปเลย ไม่ว่าจิตนั้นจะทำกิจอย่างเดียวกัน หรือทำกิจต่างกัน เช่น ชวนจิตในวิถีนั้นมี ๗ดวง หรือ ๗ ขณะ ซึ่งทำชวนกิจอย่างเดียวกัน ก็นับเป็นจิตตุปปาทะ ๗ ขณะ หรือ ๗ ดวง ตทาลัมพนจิตในวิถีนั้นมี ๒ ดวง หรือ ๒ ขณะ ซึ่งทำตทาลัมพนกิจอย่างเดียว ก็นับเป็นจิตตุปปาทะ ๒ ดวง หรือ ๒ ขณะ

          คำว่า วิถีจิต คือ จิตในวิถีนั้นมีกี่อย่าง มีความหมายว่า จิตในวิถีนั้นทำกิจ กี่อย่าง ทำกิจอย่างหนึ่งก็เรียกว่ามีวิถีจิต ๑ นับแต่อาวัชชนจิต คือจิตที่รับอารมณ์ ใหม่เป็นต้นไป เช่นเดียวกับจิตตุปปาทะ แต่ไม่นับเรียงดวง นับเป็นพวก ๆ เช่น ชวนจิตมีจิตตุปปาทะ ๗ แต่ทำชวนกิจอย่างเดียวเท่านั้นก็เรียกว่าวิถีจิต ๑, ตทาลัม พนจิต ๒ ดวง ทำตทาลัมพนกิจอย่างเดียวก็เรียกว่า วิถีจิต ๑ เช่นกัน รวมชวนจิต ๗ ตทาลัมพนจิต ๒ เป็นจิต ๙ ดวง ก็เรียกว่า มีวิถีจิต ๒ เป็นต้น

          คำว่า ขณะ คือ จิตเกิดขึ้นดวงหนึ่งก็นับเป็นขณะหนึ่ง เรียกว่า ขณะจิต บางทีก็เรียก ขณะ เฉย ๆ แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้นดวงหนึ่งที่เรียกว่าขณะหนึ่งนั้น ยังแบ่ง ได้เป็น ๓ อนุขณะ หรือ ๓ ขณะเล็ก คือ อุปาทขณะ หมายถึงขณะที่จิตเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, ฐีติขณะ หมายถึงขณะที่จิตตั้งอยู่ ๑ อนุขณะ และ ภังคขณะ หมายถึง ขณะที่จิตนั้นดับไป ๑ อนุขณะ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ขณะจิตหรือจิตแต่ละดวง นั้นมีอายุ ๓ อนุขณะ คือ อุปาทขณะ ๑, ฐีติขณะ ๑, ภังคขณะ ๑

          อนึ่งจิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ มีความหมายว่า จิตเกิดดับ ไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับไป ๑๗ ดวง หรือ ๑๗ ขณะ หรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุ เท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็น อุปาทขณะ คือขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็นฐีติขณะ คือขณะที่รูปตั้งอยู่ ๔๙ อนุขณะ และเป็นภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ

          ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า อุปาทขณะของจิตกับอุปาทขณะของรูปมี ๑ อนุขณะ เท่ากัน ภังคขณะของจิตกับภังคขณะของรูปก็มี ๑ อนุขณะเท่ากันอีก ส่วนฐีติ ขณะของจิตก็มี ๑ อนุขณะ แต่ฐีติขณะของรูปนั้นมีถึง ๔๙ อนุขณะ รูปจึงมีอายุ ยืนยาวกว่าจิตมาก

          รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตฺตรสายุกรูป

          รูปธรรมทั้งหมดมี ๒๘ รูป แต่เป็นสตฺตรสายุกรูปคือรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะจิต เพียง ๒๒ รูป เท่านั้น ส่วนอีก ๖ รูป คือ วิญญัติรูป ๒ และ ลักขณะรูป ๔ มีอายุไม่ถึง ๑๗ ขณะจิต เพราะ

          วิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต จึงมีอายุเท่า กับอายุของจิตดวงเดียวคือ ๓ อนุขณะ เท่านั้น

          ส่วนลักขณะรูป ๔ นั้น อุปจยรูป กับ สันตติรูป เป็นรูปที่ขณะแรกเกิด คือ อุปาทขณะ มีอายุเพียง ๑ อนุขณะเท่านั้น ไม่ถึง ๕๑ ขณะ ชรตารูป เป็นรูปที่ตั้ง อยู่คือ ฐีติขณะ มีอายุ ๔๙ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ และอนิจจตารูปที่กำลัง ดับไป คือ ภังคขณะ ก็มีอายุเพียง ๑ อนุขณะ ไม่ถึง ๕๑ ขณะ เป็นอันว่าลักขณะ รูปทั้ง ๔ นี้ แต่ละรูปมีอายุไม่ถึง ๕๑ อนุขณะ แม้แต่สักรูปหนึ่ง ก็ไม่มีอายุถึง ๕๑ อนุขณะ

          เพื่อให้เข้าใจความหมายและการนับจำนวน จิตตุปปาทะ วิถีจิต และ ขณะจิต ได้ง่ายเข้า ดูภาพประกอบคำอธิบายข้างต้นดังนี้



จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...