ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม

การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดย จิตตุปปาทะ การเกิด ขึ้นของจิตแล้ว ก็มี ๘ คือ มหากุสลจิต ๘ ดวง

เมื่อกล่าวโดย กรรมทวาร ทางที่ให้เกิดกรรมแล้ว ก็มี ๓ คือ

กระทำทางกายทวารได้แก่ กายวิญญัตติ ก็เรียกว่า กายกรรม หรือ กายสุจริต มี ๓ ประการ

การกระทำทางวจีทวารได้แก่ วจีวิญญัตติ ก็เรียกว่า วจีกรรม หรือ วจีสุจริต มี ๔ ประการ

การกระทำทางมโนทวารก็เรียกว่า มโนกรรม หรือ มโนสุจริต มี ๓ ประการ รวมเป็นสุจริต ๑๐ ประการ คือ

กายกรรม หรือกายสุจริต ก็ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑, เว้นจากการ ลักทรัพย์ ๑ และเว้นจากการล่วงประเวณี ๑

วจีกรรม หรือวจีสุจริต ก็ได้แก่ เว้นจากการพูดปด ๑, เว้นจากการพูด ส่อเสียด ๑, เว้นจากการพูดจาหยาบคาย ๑ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ๑

มโนกรรม หรือมโนสุจริต ก็ได้แก่ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๑, ไม่พยาบาท ปองร้ายเขา ๑ และให้มีความเห็นถูกต้อง ๑

การกระทำกามาวจรกุสลกรรมนี้ แม้ว่าจะได้เกิดทั้ง ๓ ทวารก็จริง แต่ว่าส่วน มากเกิดทางมโนกรรมมากกว่าเกิดทางกายกรรม หรือทางวจีกรรม เป็นต้นว่า เป็น แต่จิตคิดงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุริต ๔ เพียงเท่านั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นกุสลกาย กรรม ๓ และกุสลวจีกรรม ๔ แล้ว

การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม เมื่อกล่าวโดยประเภทของ ทาน สีล ภาวนา แล้วก็มี ๓ เหมือนกัน คือ ทาน ๑, สีล ๑ และ ภาวนา ๑

การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม เมื่อกล่าวโดยอำนาจบุญกิริยาวัตถุแล้วก็ มี  ๑๐ ประการ บุญกิริยาวัตถุเป็นภาษาบาลีเขียนว่า ปุญฺญกิริยาวตฺถุ แปลว่า ความดีที่ควรกระทำเพราะเป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งผลดีให้เกิดขึ้นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐คือ

. ทาน การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ได้รับ

. สีล การรักษากาย วาจา ให้เป็นปกติ ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น

. ภาวนา การอบรมจิตใจให้กุสลอันประเสริฐเกิดขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย

. อปจายนะ การแสดงคารวะและอ่อนน้อมแก่ผู้ที่เจริญด้วยชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ

. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์ช่วยเหลือกิจการที่เกี่ยวแก่ ปริยัติ และปฏิบัติ

. ปัตติทานะ การอุทิศส่วนกุสลให้บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติพี่น้อง ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย

. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนารับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้ ได้แก่ การเห็นดี และคล้อยตามด้วยความอิ่มใจในส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้นั้น

. ธัมมสวนะ การตั้งใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา แม้ฟังการสั่งสอนวิชา ทางโลก ที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เป็นธัมมสวนะ

. ธัมมเทสนา การแสดงธรรมแก่ผู้ประสงค์ฟังธรรม แม้การสั่งสอนวิชาทาง โลกที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เป็นธัมมเทสนาเช่นเดียวกัน

๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การมีความเห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างน้อยก็ต้อง ถึงกัมมสกตาปัญญา คือ รู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดกัมมสกตาปัญญา คือ

          . สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การศึกษาเล่าเรียน

          . จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การพิจารณาไตร่ตรอง

          . ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การเจริญวิปัสสนา

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในประเภททาน สีล ภาวนา แล้วก็ได้ ดังนี้

ปัตติทานะ กับปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน ชื่อว่า ทานมัย

อปจายนะ กับ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ลงใน สีล ชื่อว่า สีลมัย

ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา และทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ลงใน ภาวนา ชื่อว่า ภาวนามัย

อีกนัยหนึ่งตามนัยแห่งพุทธภาษิตอรรถกถา แสดงว่า ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา สงเคราะห์ลงใน ทานมัยกุสลก็ได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชำนะการให้ทั้งปวง

ส่วน ทิฏฐุชุกรรม นั้น มีแสดงไว้ใน สังคีติสูตร แห่งปาถิกวรรคอรรถกถา ว่า ทิฏฐุชุกมฺมํ สพฺเพสํ นิยมลกฺขนํ ทิฏฐุชุกรรมนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์ ของบุญกิริยาวัตถุทั้งปวง หมายความว่าสงเคราะห์ทิฏฐุชุกรรมลงใน ทานมัย สีลมัย ได้ทั้งหมด เพราะว่าทิฏฐุชุกรรม ก็คือ ปัญญาที่เห็นตรงตามความเป็นจริง ถ้าการ บริจาคทาน การรักษาสีล การเจริญภาวนา โดยไม่มีทิฏฐุชุกรรมประกอบด้วยแล้ว การให้ผลของ ทาน สีล ภาวนาเหล่านั้นก็ไม่สมบูรณ์ มีการขาดตกบกพร่อง แม้จะ ให้ผลไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ก็จะเป็นมนุษย์ เทวดาชั้นต่ำ มีอวัยวะขาดตก บกพร่อง หรือโง่เขลาเบาปัญญา ขาดแคลนทรัพย์ มีความเดือดร้อน ไม่ใคร่มีความ สุขสบาย


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...