ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นกรรมที่สนองผลในปัจจุบันชาติ คำว่า ทิฏฐธรรม หมายความว่า ผลที่ได้ประจักษ์แก่ตน เวทนีย แปลว่า การเสวยต่อผลนั้น รวม หมายความว่า ได้เสวยผลที่ประจักษ์แก่ตนในภพนี้ชาตินี้

การได้เสวยผลของกรรมประจักษ์แก่ตนในภพนี้ในชาติปัจจุบันนี้ ก็คือ กรรม ที่ได้กระทำในภพนี้นั่นแหละให้ผลในปวัตติกาลในชาตินี้นั่นเอง ไม่ติดตามข้ามภพ ข้ามชาติไปให้ผลในชาติที่ ๒ หรือชาติต่อ ๆ ไปได้อีก

เมื่อได้กระทำกรรมลงไปแล้ว และได้ผลภายใน ๗ วัน เรียกว่า ปริปักกทิฏฐ ธรรมเวทนียกรรม แต่ถ้าได้ผลภายหลัง ๗ วันไปแล้วเรียกว่า อปริปักกทิฏฐธรรม เวทนียกรรม

ตัวอย่างเช่น มหาทุคคตะได้ถวายภัตตาหารแก่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า และ นายปุณณะกับภริยาซึ่งเป็นคนยากจน ได้ถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตร ต่างก็ ร่ำรวย เป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน

พระเทวทัตที่กระทำโลหิตุปบาท กระทำสังฆเภทกกรรมก็ดี นันทมานพที่ ทำลายพระอุบลวัณณาเถรีผู้เป็นพระอรหันต์ก็ดี โกกาลิกพราหมณ์ที่บริภาษพระอัคร สาวกทั้ง ๒ ก็ดีต่างก็ถูกธรณีสูบ เหล่านี้ล้วนแต่เป็น ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ทั้งนั้น

ส่วนอปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้นทางกุสลก็ได้รับผลคือ เกียรติคุณแพร่ หลายมีบุญญาภินิหารและได้รับความยกย่องสรรเสริญ ในทางอกุสลก็ตรงกันข้าม

อนึ่ง ในธรรมบทอรรถกถาแสดงว่า ที่จะได้รับผลสนองเป็นปริปักกทิฏฐธรรม เวทนียกรรมนั้น ต้องถึงพร้อมด้วยสัมปทาทั้ง ๔ คือ

. เจตนาสัมปทา           มีเจตนาอันแรงกล้ายิ่งในการทำกุสลนั้น

. ปัจจยสัมปทา       ปัจจัยที่ทำกุสลนั้นได้มาด้วยความบริสุทธิ์

. วัตถุสัมปทา         บุคคลที่รับทานนั้นเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์

. คุณติเรกสัมปทา  พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ที่รับทานนั้น ถึงพร้อม ด้วยคุณอันพิเศษ คือ เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ

การได้รับผลในชาตินี้ ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนี้ ด้วยอำนาจของ เจตนาในกุสลชวนกรรม หรือกุสลชวนกรรมดวงที่ ๑ ในชวนะ ๗ ดวง ของแต่ละ วิถี แต่ว่าถ้าเจตนากรรมในชวนะดวงที่ ๑ ไม่มีโอกาสให้ผลแล้ว ก็เป็นอโหสิกรรม แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจตนากรรมในชวนะ ดวงที่ ๗ จะให้ผลในชาติที่ ๒ หรือ เป็นหน้าที่ของเจตนากรรมในชวนะดวงที่ ๒ ถึงดวงที่ ๖ จะให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างอื่น ดังจะกล่าวต่อไป


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...